1. ถุงยางอนามัยบุรุษ ผลิตจากยางลาเทค (Latex) หรือบางชนิดผลิตจากยางเทียม (Polyurethane) คุมกำเนิดโดยการสวมใส่ที่องคชาตเพศชายขณะแข็งตัว เป็นการป้องกันไม่ให้เชื้ออสุจิเข้าสู่โพรงมดลูกเพื่อปฏิสนธิกับไข่ ทำให้ไม่มีการตั้งครรภ์ ซึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ ประมาณ 2-15%
ข้อดี: หาซื้อได้ง่าย ไม่มีความเกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้
ข้อเสีย: ต้องอาศัยความร่วมมือของฝ่ายชาย อาจขัดจังหวะการร่วมเพศ มีโอกาสที่จะแตกรั่วได้ ถุงยางชนิด Latex ไม่สามารถใช้กับวัสดุหล่อลื่น ที่มีส่วนผสมของน้ำมัน เพราะจะทำให้เพิ่มโอกาส เกิดการรั่วการแตกของถุงได้ และต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ |
ที่มาภาพ : http://www.dmsc.moph.go.th/ dmsc/ news_detail.php?id=183 |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
2. ถุงยางอนามัยสตรี เป็นถุงปลายตัน ผลิตจากยางเทียม Polyurethane คุมกำเนิด โดยการใส่คลุมในช่องคลอดสตรี ป้องกันไม่ให้อสุจิเข้าสู่โพรงมดลูก ไม่เป็นที่นิยม และหาซื้อได้ยาก ซึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ได้ประมาณ 5-12%
ข้อดี: สามารถป้องกันโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ได้ สามารถใช้ร่วมกับเจลหล่อลื่น ที่เป็นน้ำมันได้ และไม่เกี่ยวข้องกับระดับฮอร์โมนในร่างกาย
ข้อเสีย: หาซื้อได้ยาก ขัดจังหวะการร่วมเพศ และต้องใช้ทุกครั้งที่มีเพศสัมพันธ์ |
ที่มาภาพ : http://talkaboutsex.thaihealth.or.th/ news/ 2403 |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
3. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เป็นวิธีคุมกำเนิดที่แพร่หลาย มีผู้นิยมใช้มากที่สุด มีความสะดวกในการใช้ ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจน(Estrogen) และโปรเจสติน (Progestin) มีผลยับยั้งการตกไข่ ทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้อสุจิ ไม่สามารถ ผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกได้ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก บางไม่เหมาะสม ต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ได้ประมาณ 0.3-8%
ข้อดี: ทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอ ลดปริมาณเลือดประจำเดือน ลดอาการปวดประจำเดือน ลดความเสี่ยงในการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดความเสี่ยงในการเกิดอุ้งเชิงกรานอัก เสบ (การติดเชื้อในอุ้งเชิงกราน) นอกจากนั้น เมื่อหยุดใช้ ยังสามารถตั้งครรภ์ได้ในระยะเวลาอันสั้น
ข้อเสีย: ไม่เหมาะกับผู้ที่มีน้ำหนักตัวเกิน อายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่ (เพิ่มปัจจัยเสี่ยง ต่อการเกิดภาวะลิ่มเลือดในหลอดเลือดดำ) ผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมน และอาจพบผลข้างเคียง เช่น เลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย และคัดตึงเต้านม |
ที่มาภาพ : http://women.sanook.com/ 14704/ |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
4. ยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินเพียงชนิดเดียว มีกลไกทำให้มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น อสุจิไม่สามารถ เคลื่อนผ่านเข้าสู่โพรงมดลูกได้ และทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบางตัว ไม่เหมาะสมต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ซึ่งพบอัตราการตั้ง ครรภ์หลังใช้ยาได้ประมาณ 0.3-8%
ข้อดี: สามารถใช้ในผู้ที่กำลังให้นมบุตรได้ เนื่องจากไม่มีผลต่อปริมาณและคุณภาพของน้ำนม สามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนเอส โตรเจน และสามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่ได้
ข้อเสีย: ต้องรับประทานยาในเวลาเดิมทุกวัน หากรับประทานผิดเวลาไป 3 ชั่วโมง ต้องใช้วิธีคุมกำเนิดอื่นๆร่วมด้วย เช่น การใช้ถุงยางอนามัย ขณะใช้ยาจะไม่มีประจำเดือน แต่อาจมีเลือดออกกะปริดกะปรอยได้ |
ที่มาภาพ : http://www.livestrong.com/ article/ 414094-difference-between-a-combination-estrogen-progesterone-pill-progestin-only-pills/ |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
5. ยาเม็ดคุมกำเนิดฉุกเฉิน ประกอบด้วยฮอร์โมนโปรเจสตินในขนาดสูง มีกลไกป้องกันการตั้งครรภ์ โดยป้องกันหรือเลื่อนเวลาการตกไข่ ขัดขวางการฝังตัวของตัวอ่อน โดยเป็นยาที่ใช้รับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ในกรณีที่ลืมคุมกำเนิด หรือเกิดเหตุไม่คาดฝันขณะมีเพศสัมพันธ์ เช่น ถุงยางอนามัยรั่วหรือแตก ได้ผลดีที่สุดถ้ารับประทานหลังมีเพศสัมพันธ์ทันที หรือในเวลาไม่เกิน 72-120 ชั่วโมง พบมีอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ ประมาณ 25%
ผลข้างเคียง คือ มีเลือดออกกะปริดกะปรอย |
ที่มาภาพ : http://www.manager.co.th/ QOL/ ViewNews.aspx? NewsID=9480000091061 |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
6. แผ่นแปะคุมกำเนิด ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน มีกลไกในการป้องกัน การตั้งครรภ์เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม พบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้ 0.3-8%
วิธีใช้: แปะแผ่นคุมกำเนิดที่ผิวหนังบริเวณที่มีไขมัน ยกเว้นบริเวณเต้านม โดย 1 แผ่น แปะนาน 1 สัปดาห์ จากนั้นจึงเปลี่ยนแผ่นโดยแปะ 3 แผ่น (นาน 3 สัปดาห์) แล้วเว้น 1 สัปดาห์ โดยสัปดาห์ ที่เว้นไม่แปะแผ่นยา จะมีประจำเดือนมา โดยขณะแปะแผ่นยา สามารถทำกิจกรรมอาบน้ำ ว่ายน้ำ ได้ปกติ
ข้อดี: ใช้การดูดซึมจากผิวหนังไม่ต้องผ่านการเปลี่ยนรูปของฮอร์ โมนที่ตับ จึงลดโอกาส เกิดผลข้างเคียงต่อตับ นอกจากนั้น ยังทำให้ประจำเดือนมาสม่ำเสมอทุกเดือน ลดความเสี่ยง ต่อการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุโพรงมดลูก และเมื่อหยุดใช้สามารถตั้งครรภ์ ได้ในระยะเวลาอันสั้น
ข้อเสีย: ไม่เหมาะในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และอาจมีอาการข้างเคียง เช่น คัดตึงเต้านม และเลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย |
ที่มาภาพ : http://www.sahavicha.com/ ?name =knowledge&file =readknowledge&id=4170 |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
7. ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม เป็นยาฉีดคุมกำเนิดที่ประกอบด้วยฮอร์โมนเอสโตรเจนและโปรเจสติน มีกลไกป้องกัน การตั้งครรภ์ เช่นเดียวกับยาเม็ดคุมกำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม
ข้อดี: มีประจำเดือนมาทุกเดือน ใช้ยาเพียงเดือนละ 1 ครั้ง จึงลดโอกาสลืมกินยา และไม่ต้อง พกพายา ไปไหนมาไหนด้วย
ข้อเสีย: ต้องได้รับการฉีดยาเข้ากล้ามเนื้อบริเวณก้น โดยบุคลากรทางการแพทย์ และห้ามใช้ใน สตรี ที่มีข้อห้ามต่อฮอร์โมนเอสโตรเจน |
ที่มาภาพ : http://www.sahavicha.com/ ?name=knowledge&file= readknowledge&id=4125 |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
8. ยาฉีดคุมกำเนิดชนิดโปรเจสตินอย่างเดียว เป็นยาฉีดที่ ประกอบด้วย ฮอร์โมน โปรเจสตินอย่างเดียว มีกลไกป้อง กันการตั้งครรภ์โดยยับยั้งการตกไข่ นอกจากนั้น ยังทำให้มูก ที่ปากมดลูกเหนียวข้น อสุจิจึงไม่สามารถเคลื่อนผ่านเข้าโพรงมดลูกได้ และทำให้ เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน และพบอัตราการตั้งครรภ์ หลังใช้ยา ได้ประมาณ 0.3-8%
ข้อดี: ใช้เพียง 4 ครั้งต่อปี โดยฉีดยาทุก 3 เดือน ไม่ต้องพกพายาคุมกำเนิดติดตัว สามารถใช้ ในผู้ที่มีข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน สามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่ และยามีราคาถูก
ข้อเสีย: มีผลข้างเคียง ทำให้เลือดออกทางช่องคลอดกะปริดกะ ปรอย เมื่อใช้ไปนานๆ อาจไม่มี ประจำเดือนอาจมีผลทำให้น้ำหนักตัวเพิ่มขึ้นจากการคั่งของเกลือและน้ำในร่างกาย และต้องได้รับ การฉีดเข้ากล้ามเนื้อที่บริเวณก้นจากบุคลากรทางการแพทย์ |
ที่มาภาพ : http://famplancontraception. blogspot.com/ 2013/ 10/3.html |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
9. ยาฝังคุมกำเนิด ในปัจจุบันมีเฉพาะยาฝังคุมกำเนิดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสติน อย่างเดียว ยามี 2 ชนิด คือ แบบ 1 แท่ง สามารถคุมกำเนิดได้ 3 ปี และชนิด 2 แท่ง สามารถคุมกำเนิดได้ 5 ปี กลไกการคุมกำเนิดคล้ายกับยาเม็ดชนิดที่มีฮอร์โมนโปรเจสตินอย่างเดียว พบอัตราการตั้งครรภ์ หลังใช้ยาประมาณ 0.05% วิธีการฝังยาทำโดยกรีดผิวหนัง บริเวณท้องแขน ข้างที่ไม่ถนัด ขนาดประมาณ 2 มิลลิเมตร จากนั้นใช้อุปกรณ์สอดเข้าสู่ชั้นใต้ผิวหนัง แล้วใส่แท่งยาตาม ไม่ต้องเย็บแผลเนื่องจากแผลมีขนาดเล็ก ให้ใช้ผ้าพันบริเวณแผลไว้อย่างน้อย 24 ชั่วโมง ระวังไม่ให้แผลถูกน้ำเป็นเวลา 7 วัน
ข้อดี: สามารถคุมกำเนิดได้ 3-5 ปี สามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามต่อการใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน และสามารถใช้ในผู้ที่มีอายุมากกว่า 35 ปีที่สูบบุหรี่
ข้อเสีย: ต้องได้รับการฝังยาจากบุคลากรทางการแพทย์ที่ได้รับการฝึกฝนมา มีหลักฐานการคุมกำเนิดโดยสามารถคลำแท่งยาได้ที่บริเวณท้อง แขน อาจพบภาวะแทรกซ้อนจากการฝังยา เช่น มีก้อนเลือดคั่งบริเวณที่กรีดผิว หนัง และอาจพบว่า ตำแหน่งของแท่งยาเคลื่อนไปจากตำแหน่งเดิม |
ที่มาภาพ : http://www.baby2talk.com/ topic/4112 |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
10. ห่วงคุมกำเนิดชนิดทองแดง เป็นอุปกรณ์พลาสติกที่มีขดลวดทองแดงพัน โดยการใส่เข้าสู่โพรงมดลูก มีกลไกป้องกันการตั้งครรภ์โดย ลดการเคลื่อนที่ของ ตัวอสุจิ ทำให้เกิดการปฏิสนธิกับไข่ได้ลำบาก ร่วมกับทำให้เยื่อบุโพรงมดลูก ไม่เหมาะต่อ การฝังตัว ของตัวอ่อน ระยะเวลาในการคุมกำเนิด 3, 5, หรือ 10 ปี ขึ้นอยู่กับชนิดของ ห่วงคุมกำ เนิด ระยะเวลาที่เหมาะสมต่อการใส่ห่วงคุมกำเนิดคือ ช่วงวันที่ 1-5 ของ การมีประ จำเดือน เนื่องจาก แน่ใจได้ว่า ช่วงนี้ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ และเป็นช่วงใส่ห่วง ได้ง่ายเนื่องจาก ปากมดลูกเปิด ทั้งนี้ พบอัตราตั้งครรภ์หลังใช้ ประมาณ 0.6-0.8%
ข้อดี: สามารถคุมกำเนิดได้เป็นเวลานาน เมื่อต้องการตั้งครรภ์สามารถดึง ห่วงคุมกำเนิด ออกได้ทันที ไม่มีผลต่อระดับฮอร์โมนในร่างกาย เหมาะสำหรับผู้ที่มีข้อห้าม ในการใช้ฮอร์โมน ผู้ใช้จะมีประจำเดือนทุกเดือนตามปกติ และมีรายงานว่า อาจช่วยลด อัตราการเกิด โรคมะเร็งปากมดลูก
ข้อเสีย: ต้องได้รับการใส่จากบุคลากรทางการแพทย์ เหมาะสำ หรับผู้ที่เคยคลอดบุตร ต้องทำการตรวจสายห่วงด้วยตนเองทุกเดือน ไม่เหมาะสำ หรับผู้ที่มีคู่นอนหลายคน หรือกำลังเป็นโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์เพราะเพิ่มโอกาสติดเชื้อให้สูง และรุนแรงขึ้น อาจมีผลข้างเคียง คือ อาการปวดหน่วงท้อง น้อย และเลือดออกทางช่องคลอด กะปริดกะปรอย |
ที่มาภาพ : http://www.manager.co.th/ CelebOnline/ ViewNews.aspx?NewsID=9550000082199 |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
11. ห่วงคุมกำเนิดชนิดมีฮอร์โมนโปรเจสติน เป็นวัสดุพลาสติกที่มีแท่งยาฮอร์โมน โปรเจสติน โดยแท่งยาจะค่อยๆปล่อยฮอร์โมนโปรเจสตินเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยๆ มีระยะเวลา ในการคุมกำเนิด 5 ปี ระยะเวลาที่เหมาะสมสำหรับการใส่ห่วงคุมกำเนิด เช่นเดียวกับ ห่วงคุมกำเนิดชนิดทองแดง กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์ โดยทำให้เยื่อบุโพรงมดลูกบาง ไม่เหมาะต่อการฝังตัวของตัวอ่อน ขัดขวางการฝังตัวอ่อน มูกที่ปากมดลูกเหนียวข้น ทำให้ อสุจิไม่สามารถปฏิสนธิกับไข่ได้ และพบอัตราการตั้งครรภ์หลังใช้วิธีนี้ ประมาณ 0.1%
ข้อดี: เนื่องจากมีฮอร์โมนโปรเจสติน จึงสามารถช่วยลดปริมาณเลือดประจำเดือน อาจช่วยบรรเทาอาการปวดประจำเดือน ช่วยลดขนาดของเนื้องอกมดลูก(ถ้ามีเนื้องอกมดลูกอยู่) เมื่อใส่ห่วงในขณะอายุ 45 ปี สามารถใช้คุมกำ เนิดจนถึงวัยหมดระดูได้ สามารถใช้ในผู้ที่มีข้อห้ามใช้ฮอร์โมนเอสโตรเจน ฤทธิ์ของฮอร์โมนโปรเจสติน เป็นการออกฤทธิ์เฉพาะที่ ไม่ผ่านร่างกายทั้งระบบ
ข้อเสีย: มีราคาแพง ต้องได้รับการใส่ห่วงนี้จากบุคลากรทางการ แพทย์ ต้องทำการตรวจสายห่วงด้วยตนเองทุกเดือน ไม่เหมาะกับผู้ที่มีโรคติดต่อทางเพศสัมพันธ์ หรือมีคู่นอนหลายคน อาจมีอาการข้างเคียง เช่น ปวดหน่วงท้อง น้อย และเลือดออกกะปริดกะปรอย |
ที่มาภาพ : http://www.mornopporn.com/ ss/ content.php?id=birth/ 4.html |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
12. วงแหวนคุมกำเนิด เป็นวงแหวนพลาสติก ซึ่งจะค่อยๆปล่อยฮอร์โมนเอสโตรเจน และโปร เจสตินเข้าสู่ร่างกายทีละน้อยๆ กลไกการป้องกันการตั้งครรภ์คล้ายกับยาเม็ดคุม กำเนิดชนิดฮอร์โมนรวม โดยใส่วงแหวนคุมกำเนิดเข้าไปในช่องคลอด ให้วงแหวนคลุม ปากมดลูก โดยใส่ในช่องคลอดนาน 21 วัน ถอดออก 7 วันในช่วงที่ไม่ ได้ใส่วงแหวนคุมกำเนิด 7 วันนี้จะมีประจำเดือนมา หลังจากนั้นจึงใส่วงแหวนคุม กำเนิดอันใหม่
ข้อดี: เป็นการดูดซึมฮอร์โมนเฉพาะที่ ไม่รบกวนระบบของร่างกาย ทั้งหมด ใส่เดือนละครั้ง ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคมะเร็งรังไข่ โรคมะเร็งเยื่อบุ โพรงมดลูก และโรคมะเร็งลำไส้ใหญ่ ลดความเสี่ยงของการเกิดโรคติดต่อทางเพศ สัมพันธ์ และประจำเดือนมาสม่ำเสมอ
ข้อเสีย: ยังไม่มีจำหน่วยในประเทศไทย อาจมีการระคายเคืองช่องคลอด อาจจะเพิ่มการติดเชื้อ ในช่องคลอด มีตกขาวมากขึ้น อาจเกิดเลือด ออกทางช่องคลอดกะปริดกะปรอย และคัดตึงเต้านม |
ที่มาภาพ : http://ideaneverdie.blogspot.com/ 2013/10/ episode-ii.html |