Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
       
         
    เราทราบว่า เลือด และ หัวใจ เป็นสิ่งที่เราต้องดูแลรักษา หากเกิดการเสียหาย อาจทำให้เราถึงขั้นเสียชีวิต แต่ทราบไหมว่า เลือด และ หัวใจ ทำหน้าที่อย่างไรในร่างกาย ?    
         
 

ที่มาภาพ : http://humananatomymodules.com/ image/34264ba0-943c-4fe1-9c96-1dd95a8bd22b.jpg

 

 
       
   

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

      ระบบหมุนเวียนเลือด เป็นระบบอวัยวะซึ่งให้เลือดไหลเวียน และขนส่งสารอาหาร ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ ฮอร์โมน และเม็ดเลือดเข้า และออกเซลล์ในร่างกาย เพื่อหล่อเลี้ยง และช่วยต่อสู้โรค รักษาอุณหภูมิ และ pH ของร่างกาย อันเป็นส่วนหนึ่ง ของการรักษาดุลยภาพของร่างกาย
 
       
 
   ระบบหมุนเวียนเลือดของมนุษย์
 
   เลือด (blood)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
           เลือด เป็นของเหลวในร่างกายที่อยู่ภายนอกเซลล์ ในร่างกายของคนจะพบของเหลวที่อยู่ภายนอกเซลล์ 37 เปอร์เซ็นต์ โดยเลือดมีหน้าที่สำคัญ 2 ประการ
  1. การลำเลียง เลือดสามารถลำเลียงสารไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย เม็ดเลือด เป็นตัวขนส่งก๊าซ น้ำเลือดประกอบด้วย สารอาหารพวกน้ำตาล ไขมัน วิตามิน กรดอะมิโนและสารอื่นๆ และเลือดยังเป็นตัวขนส่งของเสีย ที่ได้จากเมาตาโบลิซึมหลายอย่าง ไปยังอวัยวะขับถ่าย และขนส่งสาร ที่ควบคุมการทำงาน ของกระบวนการต่างๆ
  2. การปรับสภาวะสมดุลของร่างกาย
    • การปรับส่วนประกอบ ของของเหลวภายในเนื้อเยื่อ ของเหลวระหว่างเซลล์ และของเหลวภายในเซลล์มาจากเลือด
    • ในน้ำเลือดมีเกลือและโปรตีนหลายชนิด
    • การปรับอุณหภูมิของร่างกายให้คงที่ โดยมีน้ำเลือดเป็นตัวรับความร้อน ที่เกิดจาก กระบวนการเมตาโบลิซึม เพื่อส่งไปยังผิวหนัง และปอดให้ระบายความร้อน ออกจากร่างกาย
    • การป้องกัน เมื่อเส้นเลือดถูกทำลายจะมีการเสียเลือด และจะเกิดการะบวนการการแข็งตัวเพื่อปิดเส้นเลือด
 
ที่มาภาพ : http://i.imgur.com/0JGPsWt.gif
     

          ภายในเลือดนั้นมีทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด และ ก๊าซ เช่น ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้ง เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ ยังมีสารจำพวกฮอร์โมน วิตามิน เอนไซม์ และ แอนติบอดี รวมอยู่ด้วย ทั้งนี้เลือดซึ่งเป็นของเหลวสีแดง จะไหลเวียนอยู่ ในหลอดเลือดทั่วร่างกาย จะมีหัวใจ ทำหน้าที่สูบฉีดเลือดไปทั่วร่างกาย โดยผ่านเส้นเลือด ซึ่งเลือดแบ่งออกเป็น 2 ส่วนคือ

    1. น้ำเลือดหรือพลาสมา
    2. เซลล์เม็ดเลือด

น้ำเลือด (plasma) ทำหน้าที่ควบคุมความดันเลือด ปริมาณของเลือด ป้องกันเลือดออก ประกอบด้วย

  1. น้ำ ซึ่งจะทำหน้าที่รักษาระดับปริมาณของเลือดความดันโลหิตให้คงที่ ละลายแร่ธาตุต่างๆ เป็นตัวกลางในการ ลำเลียงสาร ทำให้เซลล์มีความเปียกชื้นอยู่ตลอดเวลา
  2. แร่ธาตุ ทำหน้าที่รักษาระดับของการแพร่ ระดับของ pH รักษาระดับสมดุลระหว่างน้ำเหลือง กับน้ำเลือดในเซลล์
  3. พลาสมาโปรตีน (plasma protein) ทำหน้าที่ รักษาระดับของแรงดันออสโมติกและระดับ pH และยังมีพวกที่ทำหน้าที่เฉพาะ เช่น

ไฟบริโนเจน (fibrinogen) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
โพรทอมบิน (prothrombin) ทำหน้าที่เกี่ยวกับการแข็งตัวของเลือด
อลบูมีน (albumin) ทำหน้าที่ช่วยควบคุมปริมาณของน้ำในส่วนต่างๆ ของร่างกาย
โกลบูลีน (globulin) ทำหน้าที่ควบคุมระดับ pH ปริมาณน้ำ ลำเลียงแร่ธาตุต่างๆ เป็นแอนติบอดี (antibody)

 
 
ที่มาภาพ : http://www.bloggang.com/ data/ rb515/ picture/ 1249823077.jpg   ที่มาภาพ : http://www.bloggang.com/ ata/r/ rb515/ picture/ 1249826471.jpg
 
          ภายในเลือดนั้นมีทั้งเม็ดเลือดแดง เม็ดเลือดขาว เกร็ดเลือด และ ก๊าซ เช่น ออกซิเจน คาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้ง เกลือแร่ โปรตีน ไขมัน คาร์โบไฮเดรต นอกจากนี้ยังมีสารจำพวกฮอร์โมน วิตามิน เอนไซม์ และ แอนติบอดี รวมอยู่ด้วย
 

เม็ดเลือด แบ่งออกเป็น

  1. เม็ดเลือดแดง มีหน้าที่นำเอาออกซิเจนไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีลักษณะกลมแบนและมีรอยเว้าตรงกลาง
  2. เม็ดเลือดขาว มีหน้าที่ป้องกันและทำลายสิ่งแปลกปลอมที่เข้าสู่ร่างกาย คอยต่อสู้กับเชื้อโรคต่างๆ
  3. เกล็ดเลือด มีหน้าที่สำคัญในการห้ามเลือด ช่วยทำให้เลือดแข็งตัวและรวมตัวกันอุดบริเวณที่มีการฉีกขาดของหลอดเลือด
 
  กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี