Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   หัวใจ (heart)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
 

 

 
  ที่มาภาพ :http://www.empowher.com/angina/content/5-cardiac-causes-chest-pain-you-probably-didnt-know-about  
       
          หัวใจเป็นอวัยวะในระบบหมุนเวียนโลหิตที่มีการเปลี่ยนแปลง มาจากเส้นเลือดในขณะที่ร่างกายอยู่ในช่วงเป็นตัวอ่อน มีหน้าที่ในการบีบส่งเลือด ไปยังส่วนต่างๆ ของร่างกาย อยู่ระหว่างปอดทั้ง 2 ข้างค่อนไปทางปอดด้านซ้าย มีรูปคล้ายดอกบัวตูม ขนาดเท่ากับกำมือของเจ้าของ หรือกว้าง 8 เซนติเมตร ยาว 2 เซนติเมตร หัวใจจะอยู่ในถุงเยื่อหุ้มหัวใจ (pericardium) มีน้ำเลี้ยง (pericardial fluid) หล่อเลี้ยงอยู่ ผนังของหัวใจมีเนื้อเยื่อ 3 ชั้น คือ ชั้นนอก (epicardium) ชั้นกลาง (myocardium) และชั้นใน (endocardium) เนื้อเยื่อชั้นกลางจะหนามาก มีกล้ามเนื้อ ที่เป็นกล้ามเนื้อพิเศษ เรียกว่า กล้ามเนื้อหัวใจ (cardiac muscle)
 
   หัวใจของสิ่งมีชีวิต

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
 

pulsating vessel เป็นหัวใจที่มีลักษณะเป็นหลอดเลือดธรรมดา บีบตัวเป็นจังหวะตลอดเวลา เป็นหัวใจของพวกไส้เดือนดิน พวกปลิง

ที่มาภาพ : http://www.slideshare.net/bik22/circulationsystem-of-fish

 
 

tubular heart หัวใจนี้คล้ายกับ pulsating vessel เป็นหัวใจของพวกกุ้ง ปู หรือพวก arthropod อื่นๆ

ที่มาภาพ : http://betournay.wikispaces.com/ Circulation+and+Gas+Exchange

 
 

ampullar heart เป็นหัวใจที่มีรูปร่างเป็นกระเปาะ เป็นหัวใจของพวกแมลง หมึก สัตว์สะเทินน้ำสะเทินบก สัตว์เลื้อยคลาน

ที่มาภาพ : http://www.slideshare.net/bik22/circulationsystem-of-fish

 
  chambered heart เป็นหัวใจที่มีการแบ่งเป็นห้อง คือ ห้องรับเลือดและห้องส่งเลือด เรียกว่า มีความสลับซับซ้อนมาก ระหว่างห้องของหัวใจจะมีลิ้นหัวใจปิดเปิดให้เลือดเคลื่อนที่ผ่านไปตามทิศทาง  
 
หัวใจชนิดสองห้อง เป็นหัวใจของพวกปลา หัวใจชนิดสามห้อง เป็นหัวใจของพวกสิ่งมีชีวิตที่มีปอด สัตว์เลื้อยคลาน สัตว์ครึ่งน้ำครึ่งบก (ยกเว้นพวกจระเข้) หัวใจชนิดสี่ห้อง เป็นหัวใจของพวกนก สัตว์เลี้ยงลูกด้วยน้ำนม จระเข้
ที่มาภาพ : http://www.ideacenter.org/stuff/contentmgr/files/38ed8a0c6db7a4f1a37e405922c364bd/misc/hearts.jpg
 
 
   การเต้นของหัวใจ (heart beat)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       
            

         การเต้นของหัวใจ เป็น การทำงานเพื่อสูบฉีดให้เลือดดี ไหลไปทั่วทุกเซลล์ ทุกเนื้อเยื่อ ทุกอวัยวะของร่างกาย สูบฉีดผลักดันเลือดเสีย ให้ไปยังอวัยวะ ที่ทำการแลกเปลี่ยนของเสีย และของดีของเลือด การเต้นของหัวใจ จะเต้นเป็นจังหวะ ที่สม่ำเสมอตลอดเวลา เนื่องมาจาก กล้ามเนื้อหัวใจหดตัว เรียกการทำงานนี้ว่า การเต้นของหัวใจ (heart beat or contraction of heart) หัวใจจะเริ่มเต้นตั้งแต่ ยังอยู่ในครรภ์ ของมารดาไปจนกระทั่งสิ้นชีวิต การเต้นของหัวใจประกอบด้วยขั้นตอน 2 ขั้นตอน คือ ขั้นตอนการบีบตัว เรียกว่า systole และ ขั้นตอนการคลายตัว หรือ พองตัว เรียกว่า diastole

ที่มาภาพ : http://www.phschool.com/ science/ biology_place/ biocoach/ cardio1/ cycle.html

 
       
   อัตราการเต้นของหัวใจ (heart rate)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

   
  อัตราการ เต้นของหัวใจมีผลมาจากสิ่งต่างๆ เช่น
  • การเปลี่ยนแปลงเมแทบอลิซึมในร่างกาย
  • เพศ เพศหญิงหัวใจเต้นเร็วกว่าเพศชาย
  • อิริยาบถของร่างกาย เช่น นั่ง ยืน วิ่ง เป็นต้น
  • การเจ็บป่วยจากโรคและการบาดเจ็บ
  • ขนาดของร่างกาย ร่างกายมีขนาดเล็กอัตราการเต้นของหัวใจจะเร็ว ร่างกายมีขนาดใหญ่อัตราการเต้นของหัวใจจะช้า

มนุษย์ในวัยต่างๆ รวมทั้งสัตว์ต่างชนิดกันจะมีอัตราการเต้นของหัวใจไม่เท่ากัน เช่น

   
 
  • ทารกในครรภ์ 140 ครั้ง/นาที
  • เด็กโต 100 ครั้ง/นาที
  • วัยรุ่น 80 ครั้ง/นาที
  • ผู้ใหญ่ 75 ครั้ง/นาที
  • วัยชรา 75-80 ครั้ง/นาที
  • หนู 700 ครั้ง/นาที
  • กระต่าย 150 ครั้ง/นาที
  • สุนัข 100-120 ครั้ง/นาที
  • เต่า 56-60 ครั้ง/นาที
  • ช้าง 25-28 ครั้ง/นาที
 
ที่มาภาพ : http://www.ivpo.eu/afbeeldingen/HMheartbeat-o.gif
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี