Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
       
         
    ทำไมคนเราต้องบริโภคอาหาร และเมื่ออาหารเข้าสู่ร่างกายแล้ว มีการเปลี่ยนแปลงอย่างไรบ้าง ?    
         
 

ที่มาภาพ : http://biologiabase.blogspot.com/ 2013_08_01_archive.html

 

 
       
       
   

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

         อาหารประเภทต่างๆ ที่เราบริโภค โดยเฉพาะสารอาหารที่ให้พลังงาน แก่ร่างกาย คือคาร์โบไฮเดรต โปรตีน และไขมัน ล้วนแต่มีโมเลกุลขนาดใหญ่ เกินกว่าที่จะลำเลียง เข้าสู่เซลล์ส่วนต่างๆ ของ ร่างกายได้ ยกเว้นวิตามิน และ เกลือแร่ ซึ่งมีอนุภาคขนาดเล็ก จึงจำเป็นต้องมี อวัยวะ และกลไกการทำงานต่างๆ ที่จะทำให้ โมเลกุลของสารอาหาร เหล่านั้นมีขนาดเล็กลง จนสามารถลำเลียง เข้าสู่เซลล์ได้ เรียกว่า “การย่อย”
 
       
 
   การย่อยอาหาร (Digestion)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
หมายถึง  การทำให้สารอาหารที่มีโมเลกุลขนาดใหญ่กลายเป็นสารอาหารที่มีโมเลกุลเล็กลงจนกระทั่ง แพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ได้ การย่อยอาหาร ในร่างกายมี 2 วิธี คือ
 
          1) การย่อยเชิงกล คือ การบดเคี้ยวอาหารโดยฟัน เป็นการเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุล ทำให้สารอาหารมีขนาดเล็กลง
  ที่มาภาพ : http://pixshark.com/digestion-gif.htm
 
          2) การย่อยเชิงเคมี คือ การเปลี่ยนแปลงขนาดโมเลกุลของสารอาหาร โดยใช้เอนไซม์ที่เกี่ยวข้อง ทำให้โมเลกุลของสารอาหาร เกิดการเปลียนแปลงทางเคมี ได้โมเลกุลที่มีขนาดเล็กลง
  ที่มาภาพ : http://pixshark.com/digestion-gif.htm
     
 
  กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี