Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
       
 
         
    น้ำเหลือง คืออะไร และ ร่างกายมีวิธีในการกำจัดสิ่งแปลกปลอม ที่จะเข้าไปทำอันตรายต่อร่างกายของเราอย่างไร ?    
         
 
       
 

ที่มาภาพ : http://nedlandsmassage.com.au/ lymphatic-drainage-2/

 

 
       
   

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

      ระบบน้ำเหลือง (Lymphatic system) เป็นระบบลำเลียง ที่ช่วยลำเลียง สารต่างๆ ให้กลับเข้าสู่เส้นเลือด โดยเฉพาะสารอาหาร พวกกรดไขมัน ที่ดูดซึม จากลำไส้เล็ก ระบบน้ำเหลือง จะไม่มีอวัยวะสำหรับสูบฉีด ไปยังส่วนต่างๆ
 
       
 
   น้ำเหลือง (Lymph)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
            น้ำเหลือง (Lymph) เป็นของเหลว ที่ซึมผ่านผนังเส้นเลือดฝอย ออกมาอยู่ระหว่างเซลล์หรืออยู่ รอบๆเซลล์ เพื่อหล่อเลี้ยงเซลล์ ในน้ำเหลือง จะมีโปรตีนโมเลกุลเล็ก เช่น อัลบูมิน และสารที่มีโมเลกุลเล็ก เช่น ก๊าซ น้ำ น้ำตาลกลูโคส
ที่มาภาพ : https://voer.edu.vn/m/blood-flow-and-blood-pressure-regulation/d17b7251
 
   ท่อน้ำเหลือง (Lymph vessel)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
ที่มาภาพ : http://mobile.ztopics.com/Thoracic%20duct/
 
ที่มาภาพ : https://www.studyblue.com/notes/note/n/ exam-2/deck/2586602
             ท่อน้ำเหลือง (Lymph vessel) เป็นท่อตันมีอยู่ทั่วร่างกาย มีขนาดต่างๆ กัน มีลักษณะคล้าย เส้นเลือดเวน คือ มีลิ้นกัน ป้องกันการไหลกลับ ของน้ำเหลือง ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ ่ที่สำคัญมี 2 ท่อ คือ
  1. ท่อน้ำเหลืองทอราซิก (Thoracic duct) เป็นท่อน้ำเหลือง ขนาดใหญ่ที่สุด ทำหน้าที่รับน้ำเหลือง จากส่วนต่างๆ ของร่างกาย ยกเว้น ทรวงอกขวา แขนขวา และส่วนขวาของหัวกับคอ เข้าเส้นเลือดเวนแล้ว เข้าสู่เวนาคาวา ก่อนเข้าสู่หัวใจ อยู่ทางซ้ายของลำตัว
  2. ท่อน้ำเหลืองทางด้านขวาของลำตัว (Right lymphatic duct) รับน้ำเหลืองจากทรวงอกขวา แขนขวา ส่วนของหัวกับคอ เข้าเส้นเลือดเวน แล้วเข้าสู่เวนาคาวา เข้าสู่หัวใจ จากนั้นน้ำเหลือง ที่อยู่ในท่อน้ำเหลือง จะเข้าหัวใจปนกับเลือด เพื่อลำเลียงสารต่อไป

           น้ำเหลืองไหลไปตามท่อน้ำเหลือง (the flow of lymph) โดยอาศัยปัจจัย 3 ประการ คือ

  1. การหดและคลายตัวของกล้ามเนื้อ ที่จะไปกด หรือคลายท่อน้ำเหลือง
  2. ความแตกต่างระหว่างความดันไฮโดรสเตติก ซึ่งท่อน้ำเหลืองขนาดเล็ก มีมากกว่า ท่อน้ำเหลืองขนาดใหญ่
  3. การหายใจเข้า ซึ่งไปมีผลขยายทรวงอก และลดความดัน ทำให้ท่อน้ำเหลืองขยายตัว
ที่มาภาพ : http://sss-hb.wikispaces.com/file/view/img00022.gif/77175863/img00022.gif
 
  กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี