Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
   การปฏิสนธิ

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
             หลังจากชายและหญิงมีเพศสัมพันธ์ จนถึงจุดสุดยอดแล้ว ฝ่ายชายจะหลั่งน้ำอสุจิ เข้าทาง ช่องคลอดฝ่ายหญิง อสุจิตัวที่แข็งแรงที่สุด จะวิ่งเข้าสู่เส้นชัย คือ รังไข่ ส่วนหัวของอสุจิ จะมีเอนไซม์ชนิดหนึ่ง ที่มีฤทธิ์ย่อยสลายเยื่อหุ้มของไข่ เพื่อเข้าไปในไข่ และเมื่ออสุจิ แทรกตัวเข้าไปแล้ว ส่วนหางของอสุจิที่เป็นเยื่อหุ้ม จะทำหน้าที่เชื่อมเป็นเนื้อเดียวกับ เยื่อหุ้มไข่ ปิดช่องทางไม่ให้อสุจิตัวอื่นเข้ามาได้ และอสุจิที่เป็นเซลล์ของเพศชาย จะทำการผสมรวมกับ ไข่ซึ่งเป็นเซลล์ของเพศหญิง จะทำให้เกิดเซลล์ใหม่ขึ้นมา ซึ่งเรียกว่า “การปฏิสนธิ” นั่นเอง

 

ที่มาภาพ : http://www.aviva.co.uk/health-insurance/home-of-health/medical-centre/medical-encyclopedia/entry /process-mutations/

           ขั้นตอนการปฏิสนธิ เริ่มจากภายนอกของไข่ ที่ประกอบด้วยเซลล์หลายชั้นซ้อนกันอยู่ อสุจิหลายตัวอาจเจาะผ่านเข้าไปได้ แต่เมื่อผ่านเข้าไปแล้ว จะเจอบริเวณภายในของไข่ที่เรียกว่า เขตโปร่งใส มีเซลล์บางๆ และชั้นของเนื้อเยื่อชนิดหนึ่งห่อหุ้มอยู่ เขตนี้ถือเป็นเขตหวงห้าม และจะมีอสุจิที่เร็ว และแข็งแรงที่สุดเพียงตัวเดียวเท่านั้น ที่ทะลุเข้าไปผสมกับไข่ได้ หลังจากปฏิสนธิ เซลล์จะแบ่งตามกลไกธรรมชาติ ที่จัดสรรไว้อย่างลงตัว จะเป็นไปตาม ข้อมูลพันธุกรรม ที่บรรจุไว้เรียบร้อยแล้วในไข่ และอสุจิของพ่อแม่ โดยในหัวอสุจิ มีข้อมูลทางพันธุกรรม หรือโครโมโซม 23 แท่ง ของผู้ชาย จะจับคู่เข้าหาโครโมโซมของไข่อีก 23 แท่งของผู้หญิง ทำให้เกิดเซลล์ใหม่ที่มีโครโมโซม 46 แท่ง ซึ่งในกระบวนการนี้ ไข่ และอสุจิ อย่างละหนึ่งจะกลายเป็นเซลล์เดียวกัน แล้วมีการแบ่งตัวทวีคูณอย่างรวดเร็ว เกิดเป็นตัวอ่อนจนกระทั่งเติบโตเป็นทารก  
  ที่มาภาพ : https://web.stanford.edu/group/Urchin/GIFS/norm-sp.gif
     
          บริเวณเยื่อบุโพรงมดลูก ที่ตัวอ่อนฝังตัวจะมีการเปลี่ยนแปลงให้หนา และนุ่มขึ้นเพื่อเตรียมรับตัวอ่อน นอกจากนี้ยังยืดขยายออกเมื่อตัวอ่อนเจริญเติบโตขึ้น รวมทั้งมูก บริเวณปากมดลูก จะข้นเหนียวคอยปิดปากทางเข้าไว้ ไม่ให้เชื้อโรคผ่านเข้าไปทำอันตรายได้ เมื่อไข่ที่ได้รับการปฏิสนธิแล้ว ประมาณ 4 สัปดาห์ ตัวอ่อนจะเติบโตไปพร้อมกับการเกิดรก ซึ่งเป็นแหล่งหล่อเลี้ยงชีวิตที่จะนำเลือดและอาหารของแม่ผ่านมาถึงตัวลูก
ที่มาภาพ : http://mpanaphy.weebly.com/blog/respiratory-system
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

หากจะกล่าวขั้นตอนของการปฏิสนธิ อาจกล่าวได้ดังนี้

  1. หญิงวัยเจริญพันธ์ ประมาณวันที่ 14 ของรอบเดือน ไข่ในท่อรังไข่จะเจริญเติบโตเต็มที่พร้อมที่จะได้รับการปฏิสนธิ ไข่จะผ่านปีกมดลูกเข้าสู่ท่อนำไข่ และจะมีชีวิตอยู่ได้ 24 ชั่วโมง เท่านั้น ถ้าไม่มีการผสมเกิดขึ้นไข่จะถูกขับออกสู่ช่องคลอด พร้อมกับเยื่อบุผนังมดลูกเป็นประจำเดือน เมื่อถึงกำหนดรอบเดือน
  2. การปฏิสนธิ สเปิร์มหรือเชื้ออสุจิ จะมีสารซึ่งสามารถละลายผนังที่ห่อหุ้มปกป้องไข่ได้และจะมีสเปิร์มเพียงตัวเดียวที่เจาะเข้าสู่ไข่ได้สำเร็จหลังจากนั้นตัวอื่นๆจะไม่สามารถเข้าไปได้อีก สเปิร์มจะสลัดหางทิ้ง และส่วนหัวที่เข้าไปในไข่จะเริ่มพองขึ้น ในที่สุดจะหลอมรวมกันกับไข่เป็นเซลล์เดียว
  3. การแบ่งตัวของเซลล์ แทบจะทันทีที่การปฏิสนธิเกิดขึ้น เซลล์จะเริ่มแบ่งตัวเพิ่มมากขึ้นเรื่อยๆ และเคลื่อนตัวผ่านท่อนำไข่มาสู่โพรงมดลูก
  4. ถึงโพรงมดลูก ในราววันที่ 4 หลังจากการปฏิสนธิ ไข่ที่ผสมแล้วจะมาถึงโพรงมดลูก ตอนนี้ไข่จะมีลักษณะเป็นลูกกลม ๆ ประกอบด้วยเซลล์ราว 100 เซลล์ ภายในลูกกลมนี้เป็นโพรงบรรจุของเหลว และจริงๆแล้ว ก็มีขนาดเล็กจนไม่สามารถมองเห็นด้วยตาเปล่า ลูกกลมนี้จะใช้เวลาประมาณ 2-3 วัน ล่องลอยอยู่ในโพรงมดลูก
  5. การฝังตัว ประมาณปลายสัปดาห์ที่ 3 ไข่ที่ผสมเสร็จแล้วจะฝังตัวลงในเยื่อบุโพรงมดลูก ซึ่งมีลักษณะนุ่มและหนา เมื่อเกาะยึดกันมั่นคงดีแล้ว ก็อาจถือได้ว่าการปฏิสนธิดำเนินไปอย่างเรียบร้อยสมบูรณ์ ไข่ที่ผสมแล้ว ระยะนี้เรียกว่า เอ็มบริโอ (Embryo) จะยื่นส่วนอ่อนนุ่มลักษณะคล้ายนิ้วมือแทรกลึกลงไปในผนังมดลูกเพื่อสร้างทางติดต่อกับเลือดของแม่ ต่อมาส่วนนี้จะเจริญเป็นรก มีการสร้างสายสะดือและถุงน้ำคร่ำห่อหุ้มต่อไป ตัวเอ็มบริโอเองก็จะมีเนื้อเยื่อพิเศษสามชั้น ซึ่งต่อไปแต่ละชั้นก็สร้างเป็นอวัยวะต่างๆของร่างกายนั่นเอง
 

           ขณะที่ทารก (fetus) เจริญอยู่ในครรภ์ ทารก จะอาศัยอยู่ในถุงน้ำคร่ำ (amniotic sac) ซึ่งช่วยปกป้องทารก จากอันตรายต่าง ๆ ได้ดี และทารก จะได้รับสารอาหาร และอาหาร โดยผ่านทางรก (placenta) ซึ่งเป็นส่วนที่ ติดต่อกับ มดลูก (uterus) ของแม่ มีหลอดเลือด จากแม่ มาเลี้ยง บริเวณรกนี้มาก หลอดเลือดจากรก จะเชื่อมต่อกับตัวทารก ทางสายสะดือ (umbilical cord) ดังนั้น รกเป็นทางผ่านเข้าออก ของสารอาหาร อากาศ และของเสียจากทารกอยู่ตลอดเวลา

 

 

 

 

ที่มาภาพ : http://www.catherineshafer.com/ fgdefs.html

 
   ฝาแฝด

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
          แฝดแท้ เกิดจากการที่ไข่ 1 ใบ ผสมกับ ตัวอสุจิ 1 ตัว และจะแยกตัวออกจากกันภายหลัง ปกติแล้วถ้ามีการปฏิสนธิแล้วไม่เกิน 8 วัน ไข่ที่ถูกผสมจะแยกตัวออกจากกัน แต่ถ้าไม่แยกตัวออกจากกัน อวัยวะในร่างกายส่วนใดส่วนหนึ่ง จะติดกัน แต่ถ้าแยกกันก่อน 8 วัน ก็จะเป็นการแยกไข่ออกที่สมบูรณ์ ไข่อาจจะถูกห่อหุ้มด้วยถุงน้ำเดียวกัน หรืออาจจะแยกไปคนละถุงก็ได้ แต่ลูกแฝดที่คลอดออกมาจะมีหน้าตา รูปร่างเหมือนกัน              แฝดเทียม เกิดจากการที่มี ไข่ 2 ใบ ผสมกับอสุจิ 2 ตัว แล้วแยกอยู่ในครรภ์ แฝดเทียม ไม่จำเป็นจะต้องผสมไข่ในวันเดียวกัน อาจจะเป็นการผสมกันอีกวันสำหรับ ไข่ 1 ใบและอสุจิอีก 1 ตัวหลังจากนั้นไม่เกิน 4 สัปดาห์ เหมือนพี่น้องที่อายุห่างกัน แล้วอยู่ในครรภ์เดียวกัน
 
ที่มาภาพ : http://www.suwattana.net/mechanism_live/page17_clip_image002_0001.jpg
 
   พัฒนาการของทารกในครรภ์
          
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 1
ระยะนี้สามารถมองเห็นทารก (ตัวอ่อน) ได้ด้วยตาเปล่า ส่วนของสมอง และไขสันหลังจะมีการพัฒนาอย่างเห็นได้ชัด เริ่มมีการสร้างส่วนที่เป็นกระดูกสันหลัง ความยาวทารกประมาณ 0.5 ซ.ม.
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 2
เป็นระยะที่อวัยวะภายในถูกสร้างขึ้นอย่างสมบูรณ์ สามารถมองเห็นข้อต่อภายในร่างกาย เช่น ข้อไหล่ ข้อศอก ข้อสะโพก และข้อเข่าได้ชัดเจน กระดูกสันหลังสามารถบิดเพื่อเคลื่อนไหวไปมาได้ เริ่มมีการสร้างอวัยวะเพศ รูปร่างของทารกจะดูไม่เหมือนเด็ก แต่จะมีลักษณะคล้ายๆ ลูกน้ำ ความยาวทารกประมาณ 2.5 ซ.ม.
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 3
โครงสร้างของใบหน้าเริ่มสมบูรณ์ แต่เปลือกตายังปิดอยู่ กล้ามเนื้อต่างๆ มีการเจริญเติบโต แขนขาเริ่มยืดออก และเคลื่อนไหวได้ การทำงานของระบบสมอง และกล้ามเนื้อเริ่มมีความสัมพันธ์กัน ข้อต่างๆ เริ่มเชื่อมต่อกัน นิ้วมือนิ้วเท้าสมบูรณ์ และเริ่มงอได้ ปลายนิ้วมีเล็บ ทารกจะหัดดูดนิ้ว และเริ่มกลืนน้ำคร่ำได้ ความยาวของทารกประมาณ 8 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 17.5 กรัม
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 4
แขน และข้อต่อต่างๆ พัฒนาอย่างสมบูรณ์ กล้ามเนื้อมีความแข็งแรงขึ้น ทารกสามารถเคลื่อนไหวได้อย่างกระฉับกระเฉง แต่คุณแม่อาจจะยังไม่รู้สึกว่าลูกเคลื่อนไหว เริ่มมีขนอ่อนปกคลุมตามส่วนต่างๆ ของร่างกาย มีการสร้างขนคิ้ว และขนตา ความยาวของทารกประมาณ 15 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 135 กรัม
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 5
ช่วยนี้ทากรในครรภ์จะเจริญเติบโตอย่างรวดเร็ว ฟันจะถูกสร้างขึ้นมาแต่จะอยู่ใต้ขากรรไกร เริ่มมีผมบนศีรษะ กล้ามเนื้อต่างๆ มีความแข็งแรงมากขึ้น ทารกเคลื่อนไหวมากขึ้น ระยะนี้คุณแม่จะเริ่มรู้สึกแล้วว่าลูกดิ้น หรือมีการเคลื่อนไหวเป็นระยะๆ ความยาวของทารกประมาณ 25 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 340 กรัม
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 6
ทารกในครรภ์จะมีการดูดนิ้วมือเป็นพักๆ บางครั้งอาจจะไอ หรือมีอาการสะอึกได้ ทารกจะดูผอมบาง เนื่องจากมีไขมันสะสมอยู่ใต้ผิวหนังน้อย ความยาวของทารกประมาณ 33 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 0.5 ก.ก.
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 7
สัดส่วนของศีรษะจะดูใหญ่กว่าลำตัว ช่วงนี้จะเริ่มมีการสะสมของไขมันใต้ผิวหนังมากขึ้น มีการสร้าง ไขมาปกคลุมผิวหนัง และลำตัว เพื่อให้ความอบอุ่น และป้องกันผิวหนังจากน้ำปอดของทารก จะมีการพัฒนาอย่างสมบูรณ์ และพร้อมที่จะทำงานเมื่อทารกคลอดออกมา ความยาวของทารกประมาณ 37 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 1 ก.ก.
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 8
ทารกจะมีขนาด และสัดส่วนใกล้เคียงกับเด็กแรกเกิด มีความแข็งแรงมากขึ้น ในช่วงนี้ทารกจะเริ่มกลับหัวเข้าสู่อุ้งเชิงกราน การดิ้นของทารก จะสามารถสังเกตเห็นได้จากหน้าทองของแม่ ความยาวของทารกประมาณ 40 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 1.5 ก.ก.
 

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

เดือนที่ 9
ระยะนี้ทารกจะโตเร็วมากจนเต็มพื้นที่ในมดลูก การเคลื่อนไหวจะน้อยลง เพราะเนื้อที่ในมดลูกมีจำกัด ทารกจะอยู่ในท่าที่พร้อมจะคลอด เล็บมีการเจริญเติบโต และยาวครอบคลุมปลายนิ้ว ผมบนศีรษะมีความยาวประมาณ 1-2 นิ้ว ถ้าเป็นครรภ์แรกศีรษะของทารก จะเคลื่อนเข้าไปอยู่ในอุ้งเชิงกราน ความยาวของทารกประมาณ 50 ซ.ม. น้ำหนักของทารกประมาณ 2.5 ก.ก.
ที่มาภาพ : http://www.baby2talk.com/topic/3552
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี