Digestive
Circulatory
Respiratory
Excretory
Nervous
Immune
Reproductive
Skeletal
profile
 
 
  การทำงานของกล้ามเนื้อ

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
 

การทำงานของกล้ามเนื้อนั้นจะต้องอาศัยปัจจัยต่างๆ ได้แก่

  1. แคลเซียมไอออน หากขาดแล้วจะเกิดอาการชัก
  2. พลังงาน ได้จากกระบวนการสลายอาหารภายในเซลล์
  3. Myoglobin ทำหน้าที่นำออกซิเจนให้กล้ามเนื้อ
   
  กล้ามเนื้อในส่วนต่างๆของร่างกาย

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
                       กล้ามเนื้อในร่างกายทั้งหมดมีอยู่ประมาณ 792 มัด เป็นกล้ามเนื้อชนิดที่อยู่ในอำนาจจิตใจ 696 มัด ที่ เหลืออีก 96 มัด เป็นกล้ามเนื้อที่เราบังคับได้ ไม่เต็มสมบูรณ์ ซึ่งได้แก่ กล้ามเนื้อ ที่ทำหน้าที่ในการหายใจ (Respiration) จาม (Sneezing) ไอ (Coughing) ตัวอย่างกล้ามเนื้อที่หน้าสนใจ ได้แก่
 
  กล้ามเนื้อที่ช่วยในการหายใจ (The Muscles of respiration)

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
ที่มาภาพ :https://www.studyblue.com/notes/note/n/muscles-test-3/deck/8077741  
ที่มาภาพ : http://polkacafe.s3.amazonaws.com/ articles/ thumbs/ ti_725_140497228953be2d02011b2.gif
ที่มาภาพ : http://upload.wikimedia.org/ wikipedia/ commons/2/2f/ Innermost_intercostal_muscles_animation.gif
ที่มาภาพ : http://upload.wikimedia.org/ wikipedia/ commons/e/ed/ External_intercostal_muscles_animation.gif
กะบังลม ( Diaphragm)
ทำให้ช่องอกขยายโตขึ้น และช่วยดันปอดให้ลมออกมา
กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงด้านนอก (External Intercostal)
ยกซี่โครงขึ้น ทำให้ช่องอกขยาย ใหญ่ขึ้น
กล้ามเนื้อระหว่างซี่โครงด้านใน (Internal Intercostal)
ทำให้ช่องอกเล็กลง
     
  กล้ามเนื้อของแขน

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

       

ที่มาภาพ : https://fitbert.wordpress.com/2014/08/11/triceps/

   กล้ามเนื้อของแขน แบ่งออกเป็นส่วน ๆ ดังนี้

(1) กล้ามเนื้อของไหล่ ที่สำคัญได้แก่ กล้ามเนื้อ deltoid เนื้อใหญ่หนา มีรูปเป็นสามเหลี่ยม คลุมอยู่ที่ข้อไหล่ตั้งต้น จากปลายนอกของกระดูก ไหปลาร้า และกระดูกสะบัก แล้วไปยึดเกาะ ที่พื้นนอกตอนกลางของกระดูกแขนท่อนบน ทำหน้าที่ยกต้นแขนขึ้นมาข้างบนให้ได้ระดับกับไหล่เป็นมุมฉาก

(2) กล้ามเนื้อของต้นแขน ที่สำคัญได้แก่ - ไบเซฟส์แบรคิไอ (biceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อที่อยู่ด้านหน้าของ ต้นแขน มีรูปคล้ายกระสวย ทำหน้าที่งอข้อศอกและหงายมือ - ไตรเซฟส์ แบรคิไอ (triceps brachii) เป็นกล้ามเนื้อมัดใหญ่อยู่ด้าน หลังของต้นแขน ปลายบนแยกออกเป็น 3 หัว ช่วยทำหน้าที่ เหยียดปลายแขนหรือข้อศอก

(3) กล้ามเนื้อของปลายแขน มีอยู่หลายมัด จำแนกออกเป็น ด้านหน้า และ ด้านหลัง ในแต่ละด้านยังแยกเป็น 2 ชั้น คือ ชั้นตื้น และชั้นลึก ทำหน้าที่เหยียดข้อศอก เหยียดและงอมือ เหยียดนิ้วมือ กระดกข้อมือ งอข้อมือ พลิกแขนและคว่ำแขน ฯลฯ

(4) กล้ามเนื้อของมือ เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ ทำหน้าที่เคลื่อนไหว นิ้วมือ

 
  กล้ามเนื้อของขา

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

ที่มาภาพhttp://www.mightyfighter.com/top-5-simple-exercises-to-build-leg-muscles/

 

กล้ามเนื้อของขา จำแนกออกเป็น

(1) กล้ามเนื้อตะโพก กล้ามเนื้อมัดใหญ่ที่สุดของตะโพก ได้แก่ กลูเทียส แมกซิมัส (gluteus maximus)มีลักษณะหยาบและอยู่ตื้น ช่วยทำหน้าที่ เหยียดและกางต้นขา นอกจากนี้ยังมีมัดเล็ก ๆ อยู่ใต้กล้ามเนื้อมัดใหญ่นี้ ช่วยกางและหมุนต้นขาเข้าข้างใน

(2) กล้ามเนื้อของต้นขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหน้าของต้นขา มีหน้าที่เหยียดปลายขา - กล้ามเนื้อด้านในของต้นขา มีหน้าที่หุบต้นขา - กล้ามเนื้อด้านหลังของต้นขา มีหน้าที่งอปลายขา

(3) กล้ามเนื้อของปลายขา ประกอบด้วย - กล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา ทำหน้าที่งอเท้าขึ้นเหยียด นิ้วเท้าและหันเท้าออกข้างนอก - กล้ามเนื้อด้านนอกของปลายขา ช่วยทำหน้าที่เหยียดปลายเท้า เหมือนกล้ามเนื้อด้านหลังของปลายขา

(4) กล้ามเนื้อของเท้า เป็นกล้ามเนื้อสั้น ๆ เหมือนกับของมือ อยู่ที่หลังเท้า และฝ่าเท้า มีหน้าที่ช่วยยึดเท้าให้เป็นส่วนโค้งและเคลื่อนไหวนิ้วเท้า

 
  Antagonisticmuscle

Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.

Get Adobe Flash player

 
         

ที่มาภาพ : http://biophysics.homestead.com/muscular.html

   เมื่อสมองสั่งให้ร่างกายเคลื่อนไหว กล้ามเนื้อจะเกิดการหดตัว และคลายตัว ทำงานประสานเป็นคู่ ๆ พร้อมกัน แต่ตรงข้ามกัน ในขณะที่กล้ามเนื้อมัดหนึ่งหดตัว กล้ามเนื้ออีกมัดหนึ่งจะคลายตัว การทำงานของกล้ามเนื้อในลักษณะนี้ เรียกว่า Antagonisticmuscle

มัดกล้ามเนื้อไบเซพ (Biceps) อยู่ด้านบน และไตรเซพ (Triceps) อยู่ด้านล่างของแขน

ไบเซพหรือ (Flexors)คลายตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) หดตัว»» แขนเหยียดออก

ไบเซพหรือ (Flexors)หดตัว ไตรเสพ หรือ (Extensors) คลายตัว»» แขนงอเข้า

ที่มาภาพ : http://stream1.gifsoup.com/view5/4843897/arm-muscle-o.gif
 
หน้าที่แล้ว กลับด้านบน หน้าถัดไป
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ
 
   
 
จัดทำโดย นิสา มากแก้ว ครูวิทยฐานะชำนาญการ โรงเรียนปทุมวิไล จังหวัดปทุมธานี