|
|
การหายใจของปลา |
|
|
|
|
โดยปกติปลาหายใจด้วยเหงือก (gills) ของมัน เหงือกตั้งอยู่สองข้างของตัวปลา ที่บริเวณส่วนท้ายของหัว เมื่อเราแง้ม หรือเปิดกระพุ้งแก้ม (opercles) ของปลา เราจะเห็นอวัยวะ สำหรับใช้ในการหายใจ มีลักษณะเป็นเส้นคล้ายขนนก หรือหวีเรียงกันเป็นแผง เป็นระเบียบ และมีสีแดงจัด อวัยวะดังกล่าวคือ เหงือก ที่เหงือกนั้น มีเส้นโลหิตฝอย เป็นจำนวนมาก มาหล่อเลี้ยงอยู่ ก๊าซออกซิเจนที่ละลายปนอยู่ในน้ำ จะถูกเหงือกดูดซึมเข้าไป ในกระแสเลือด และเลือดที่มีออกซิเจน นี้จะไหลผ่าน ออกจากเหงือกไป เลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย ของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ก็จะถูกขับถ่าย ออกจากเหงือก บริเวณเดียวกัน
ที่มาภาพ : http://pgbooks.ru/ want_to_know/ researcher/9500/ |
|
|
|
หากเรานำปลาขึ้นจากน้ำ ปลาจะตายในระยะเวลาต่อมา ทั้งนี้เพราะปลาส่วนใหญ่ไม่สามารถ ใช้ก๊าซออกซิเจนจากบรรยากาศ โดยตรงได้ เนื่องจากมันไม่มีปอด สำหรับหายใจ เหมือนสัตว์บกทั้งหลาย ได้มีนักวิทยาศาสตร์ในต่างประเทศ ทำการทดลองทางสรีรวิทยา (physiology) โดยนำปลาขึ้นมาวาง ในที่แห้งปรากฏว่าปริมาณ กรดแล็กติก (latic acid) ในเลือดและในกล้ามเนื้อ เพิ่มขึ้นอย่างรวดเร็วในระยะเวลา เพียงไม่กี่นาที แต่เมื่อปล่อยปลากลับลงไปในน้ำแล้ว ปริมาณกรดแล็กติคจะค่อย ๆ ลดลงอย่างช้า ๆ จนถึงระดับปกติ
การหายใจของปลาเริ่มขึ้นเมื่อมีน้ำ เข้าทางปากหรือท่อ เช่น สไปเรเคิล (spiracles) ในปลาพวกฉลาม และกระเบน น้ำที่มีก๊าซออกซิเจน ละลายอยู่ก็จะผ่านเข้าไป ตามช่องเหงือก ครั้นเมื่อปลาหุบปาก และกระชับกระพุ้งแก้ม น้ำก็จะถูกขับออกทางช่องแก้ม ซึ่งเปิดอยู่ทางส่วนท้ายของส่วนหัว น้ำที่ถูกขับออกทางส่วนท้ายนี้ ยังเป็นแรงที่ช่วยดันให้ปลา เคลื่อนที่ไปข้างหน้าอีกส่วนหนึ่งด้วย |
|
ที่มาภาพ : https://www.studyblue.com/notes/note/n/chapter-4-biology-lab-practical/deck/5779768 |
|
|
ยังมีปลาบางจำพวกที่มีอวัยวะพิเศษ ใช้ช่วยในการหายใจ นอกเหนือจากผิวหนังของปลา ซึ่งมีส่วนสำคัญในการขับถ่ายของเสีย เช่น ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ ปลาบางจำพวก เช่น ปลาไหลน้ำจืด ใช้ลำไส้ช่วยในการหายใจได้ด้วย ในลูกปลาวัยอ่อน (larvae) ของปลาส่วนใหญ่ ที่ยังมีถุงไข่แดงอยู่ ปรากฏว่า เส้นเลือดฝอยบนถุงไข่แดง และที่ส่วนต่าง ๆ ของครีบสามารถดูดซับ เอาก๊าซออกซิเจนไปเลี้ยงร่างกายได้เช่นกัน ในลูกปลาจำพวกที่มีอวัยวะคล้ายปอด (lung fishes) จะมีเหงือกพิเศษ ซึ่งพัฒนาดีในระยะแรก ของการเจริญเติบโตของปลาเท่านั้น ต่อมาเมื่อลูกปลาดังกล่าวโตขึ้น เหงือกพิเศษจะค่อย ๆ หดหายไป |
|
|
|
การหายใจของแมลง |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
|
|
|
|
การหายใจของตั๊กแตน หรือแมลงทั่วไป จะใช้ถุงลม เป็นอวัยวะสำหรับแลกเปลี่ยนแก๊ส ถุงลมจะติดต่อกับภายนอก ทางรูหายใจ ท่อลมจะแทรกอยู่ในร่างกาย และแตกแขนงเป็นท่อเล็กๆ มากมาย เพื่อเพิ่มพื้นที่ในการแลกเปลี่ยนแก็ส นอกจากนี้ ภายในตัวตั๊กแตนยังมีถุงลม สำหรับทำหน้าที่เก็บอากาศไว้ สำหรับหายใจ |
|
|
ที่มาภาพ : https://sites.google.com/a/st.cabarrus.k12.nc.us/kingdoms-and-processes-shaneb/respiration |
|
|
|
|
|
ระบบการหมุนเวียน โลหิตของแมลง หัวใจของตั๊กแตน มีลักษณะเป็นท่อยาวๆ อยู่บริเวณทางด้านหลัง เลือดจะไหลผ่าน ทางช่องเปิดของหัวใจ และสูบฉีดไปเลี้ยงร่างกายทางด้านหน้า และไหลไป ตามช่องลำตัว ไปเลี้ยงส่วนต่างๆ ของร่างกาย และไหลกลับเข้าสู่หัวใจ ทางช่องเปิดของหัวใจเช่นเดิม |
ที่มาภาพ : http://i.kinja-img.com/ gawker-media/image/ upload/s--7ltLS8IE--/ c_fit,fl_progressive,q_80,w_636/ obi0iqqpsyurkejvxqqs.gif |
|
|
|
|
|
|
|
การแลกเปลี่ยนแก๊สของไฮดรา |
Content on this page requires a newer version of Adobe Flash Player.
|
|
|
|
|
|
ไฮดรา ไม่มีอวัยวะที่ใช้ในการหายใจ แก๊สออกซิเจนที่ละลายอยู่ในน้ำ และแก๊สคาร์บอนไดออกไซด ์ที่เกิดขึ้นภายในเซลล์เข้า และ ออกจากเซลล ์โดยการแพร่ผ่านเยื่อหุ้มเซลล์ |
|
|
ที่มาภาพ : http://iyayaya.exteen.com/page-6 |
|
|
คำแนะนำการใช้ I ตัวชี้วัด I เนื้อหา I วิดีโอ I แบบทดสอบ I ผู้จัดทำ |
|