งบทดลอง (Trial Balance) คือ งบที่ทำขึ้นเพื่อพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี แต่การบันทึกรายการค้าในสมุดรายวัน ทั่วไป การผ่านรายการ จากสมุดรายวันทั่วไป ไปบัญชีแยกประเภท และการหายอดคงเหลือด้วยดินสอ จากรายการค้าทุกรายการ ผลรวมด้านเดบิต ของทุกบัญชี ควรจะต้องเท่ากับผลรวมด้านเครดิตของทุกๆบัญชี หลังจากจากผ่านรายการจากสมุดรายวันทั่วไป ไปยังบัญชีแยกประเภทแล้ว ขั้นต่อไปคือการหายอดคงเหลือของบัญชีแยกประเภทโดยทั่วไปนิยม หาด้วยดินสอ (Pencil Footing) เพื่อป้องกันการผิดพลาดและหากต้องการแก้ไขก็จะทำได้โดยสะดวก |
การหายอดคงเหลือ |
1. หายอดรวมทางด้านเดบิตและเครดิตของบัญชีทุกบัญชีในแยกประเภท |
2. นำยอดรวมทั้งสองด้านมาลบเพื่อหายอดคงเหลือ |
3. นำผลลัพธ์ที่ได้ไปเขียนไว้ทางด้านที่เหลืออยู่คือด้านที่มากกว่า |
|
ตัวอย่างการหายอดคงเหลือ |
|
|
การทำงบทดลอง มีขั้นตอนดังนี้ |
1. เขียนหัวงบทดลอง |
2. บรรทัดที่ 1 ชื่อกิจการ บรรทัดที่ 2 คำว่า งบทดลอง บรรทัดที่ 3 วันที่ |
3. ลอกชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีลงในช่องชื่อบัญชีและเลขที่บัญชีตามลำดับ นิยมเรียงลำดับโดยเรียงจากบัญชีหมวดสินทรัพย์ หนี้สิน ทุน รายได้ และค่าใช้จ่ายนำยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภท ไปใส่ในช่องเดบิตและเครดิต |
- ถ้ายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทเหลืออยู่ทางด้านเดบิต ให้นำไปใส่ช่องเดบิต |
- ถ้ายอดคงเหลือในบัญชีแยกประเภทเหลืออยู่ทางด้านเครดิต ให้นำไปใส่ช่องเครดิต |
- รวมยอด ยอดรวมทั้งสองด้านทั้งด้านเดบิตต้องเท่ากับด้านเครดิต |
|
ตัวอย่าง แบบฟอร์มงบทดลอง |
|
ถ้าผู้จัดทำบัญชีจัดงบทดลองไม่ลงตัว อันเนื่องมาจากความผิดพลาดในแต่ละขั้นตอนของการบันทึกบัญชี นับตั้งแต่การนำยอดดุล ของบัญชีมาลงใน งบทดลอง ขั้นตอนหายอดดุลคงเหลือในบัญชีแยกประเภท ซึ่งเกิดจากการคำนวณยอดดุลไม่ถูกต้อง ขั้นตอน การผ่านบัญชีผิดด้านหรือผ่านด้วยจำนวนเงินไม่ถูกต้อง การเขียนตัวเลขกลับหลักกัน หรือลืมนำรายการบางรายการมาบันทึกบัญชี ดังนั้นนักบัญชีหรือผู้ตรวจสอบบัญชี อาจทำการตรวจสอบข้อผิดพลาดเบื้องต้นได้จากตามขั้นตอนดังนี้ |
1. ตรวจสอบจากการบวกยอดรวมจำนวนเงินในช่องเดบิตและช่องเครดิต |
2. ตรวจสอบว่า นำบัญชีมาลงในงบทดลองครบถ้วน ด้วยจำนวนเงินที่ถูกต้องทั้งด้านเดบิตและด้านเครดิต |
3. ตรวจสอบการคำนวณหายอดดุลของทุกบัญชีว่าถูกต้อง |
4. ตรวจสอบการผ่านบัญชีจากสมุดรายวันไปยังบัญชีแยกประเภทว่า ได้ผ่านบัญชีถูกต้อง ถูกด้านและจำนวนเงินถูกต้อง |
5. ตรวจสอบการบันทึกรายการในสมุดรายวันว่าได้บันทึกด้วยจำนวนเงินถูกต้องตามเอกสารและบันทึกด้านเดบิตเท่ากับ ด้านเครดิต ตามหลักบัญชีคู่ |
ถ้างบทดลองเกิดข้อผิดพลาดขึ้นซึ่งไม่ปรากฏให้เห็นในงบทดลอง ซึ่งอาจมีดังนี้ |
1. บันทึกผิดบัญชี เช่น การจ่ายค่าโฆษณา แต่บันทึกเป็นจ่ายค่าเช่า ข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นนี้เป็นบัญชีประเภทค่าใช้จ่าย แต่ทำให้งบทดลองลงตัวได้ |
2. การบันทึกผิดประเภทบัญชี เช่น ซื้อเครื่องใช้สำนักงาน แต่บันทึกบัญชีเดบิตเครื่องตกแต่ง เป็นข้อผิดพลาดที่เกิดขึ้นกับบัญชี ประเภทสินทรัพย์ แต่ทำให้งบทดลองลงตัวได้ |
3. การบันทึกจำนวนเงินผิด |
4. การลืมบันทึกบัญชีทั้งด้านเดบิตและเครดิต |
5. ข้อผิดพลาดที่ชดเชยกันได้ เช่น ยอดรวมบัญชีค่าโฆษณาต่ำไป 2,000 บาท และยอดรวมของบัญชีรายได้ค่าบริการต่ำไป 2,000 บาท ทำให้งบทดลองลงตัวแต่ไม่ถูกต้อง |
งบทดลองไม่ใช่งบการเงิน แต่เป็นงบที่ใช้พิสูจน์ความถูกต้องของข้อมูลทางบัญชีเท่านั้นเพื่อนำข้อมูลทางบัญชีไปใช้ในการแสดงผลการดำเนินงานว่ากิจการ มีกำไรหรือขาดทุนจำนวนเท่าใด และการแสดงฐานะการเงินของกิจการว่ามีสินทรัพย์ หนี้สิน และส่วนของเจ้าของทั้งสิ้นจำนวนเท่าใด จึงจำเป็นต้องได้ข้อมูล จากการจดบันทึกและวิเคราะห์รายการค้าลงในสมุดบัญชีและการพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี |
|
ประโยชน์ในการจัดทำงบทดลอง |
1.ช่วยในการพิสูจน์ความถูกต้องของการบันทึกบัญชี ตามหลักการบัญชีคู่ว่าได้ทำการบันทึกทั้งด้านเดบิตและเครดิต ถูกต้องหรือไม่ |
2. ช่วยให้สามารถทราบแล้วแก้ไขข้อผิดพลาดได้ทันท่วงที |
3. ใช้เป็นข้อมูลในการจัดทำงบการเงินเพื่อแสดงให้เห็นถึงผลการดำเนินงานและฐานะการเงินของกิจการคือการจัดทำงบกำไรขาดทุน และงบดุล |
4. ใช้เป็นข้อมูลในการปิดบัญชี เมื่อสิ้นรอบระยะเวลาบัญชี |
ในการจัดทำงบทดลอง ให้นำยอดคงเหลือจากบัญชีแยกประเภทมาจัดทำในงบทดลองดังนี้ |
|
|
1. เมื่อเด็กๆ ผ่านรายการไปบัญชีแยกประเภทเรียบร้อยแล้ว ขั้นต่อไป |
2.เด็กๆ ต้องหายอดคงเหลือ ตามที่ป้าสอนไปแล้วนะคะ |
3.เมื่อได้ยอดคงเหลือแล้ว ต่อไปก็จะจัดทำงบทดลองกันนะคะ |
4.โดยในการจัดงบทดลองนั้นเด็กก็ต้องนำยอดคงเหลือมาใส่ในช่องจำนวนให้ถูกต้องตามด้านเดบิตและเครดิตนะคะ บัญชีใดมียอดคงเหลือด้านใดก็ใส่ให้ถูกต้องจ้า.... |
5.เมื่อใส่ครบทุกบัญชีแล้วก็รวมยอดทั้งสองด้าน ว่าเท่ากันและถูกต้องหรือไม่ ถ้าไม่ถูกต้อง เด็กๆ ก็จะต้องย้อนกลับไปตรวจสอบนะคะ ว่าทำไมยอดรวมถึงไม่เท่ากันคะ |
|