ระดับชั้นเรียน: ประถมศึกษา
กำหนดเวลา: 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์: นักเรียนสามารถอธิบายว่าทำไมวัตถุแต่ละสีถึงดูดกลืนความร้อนได้ไม่เท่ากัน
สื่อการเรียนรู้:
1.
ดินน้ำมันสีขาว 1 ก้อน
2.
ดินน้ำมันสีดำ 1 ก้อน
3.
ถ้วยพลาสติก 2 อัน
4.
เทอร์มอมิเตอร์ 3 อัน
5.
กระดาษกราฟ 1 แผ่น
หลักการ:
วัตถุที่มีสีแตกต่างกันจะมีความสามารถในการดูดกลืนพลังงานความร้อนได้แตกกัน
การสร้างและประกอบ:
1.
นวดดินน้ำมันแต่ละสีและปั้นเป็นก้อนกลม
2.
นำดินน้ำมันที่ปั้นเป็นก้อนกลมมาบรรจุลงในถ้วยพลาสติก
3.นำเทอร์มอมิเตอร์มาเสียบลงในดินน้ำมันที่บรรจุในถ้วยพลาสติก ระวังอย่าให้ปลายเทอร์
มอมิเตอร์สัมผัสกับถ้วยพลาสติก เพราะอาจทำให้ผลการทดลองผิดพลาดได้
4.
นำถ้วยพลาสติกทั้ง 2 ไปวางในบริเวณกลางแจ้ง
5.
นำเทอร์มอมิเตอร์ที่เหลือมาวัดอุณหภูมิปกติ
ภาพที่ 1 : การดูดกลืนพลังงานความร้อน
การดำเนินกิจกรรม:
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ
ละเท่าๆ กันตามความเหมาะสม แจกอุปกรณ์ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ช่วยกันทำตามวิธีการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ก่อนที่จะทำการทดลองให้คุณครูอธิบายหลักการทำงานของการดูดกลืนความร้อนของวัถตุที่มี
สีแตกกัน
ให้นักเรียนเข้าใจเสียก่อน เมื่อนักเรียนมีความเข้าใจในหลักการ
จึงให้นักเรียนออกไปทำ
การทดลอง โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่มช่วยกันอ่านค่าของเทอร์มอมิเตอร์ของดินน้ำมันแต่ละสีและอุณหภูมิ
ปกติทุกๆ
30 นาที ประมาณ 4-5 ครั้ง
ตารางบันทึกผลกิจกรรม
เรื่อง การดูดกลืนพลังงานความร้อน
เวลา |
|
|
|
|
|
อุณหภูมิของอากาศ |
|
|
|
|
|
อุณหภูมิของดินน้ำมันสีดำ |
|
|
|
|
|
อุณหภูมิของดินน้ำมันสีขาว
|
|
|
|
|
|
สรุปการทำกิจกรรม:
หลังจากที่นักเรียนได้ทำการทดลอง
ให้นักเรียนนำค่าที่ได้มาเขียนกราฟ และนำข้อมูลของแต่ละ
กลุ่มมาเปรียบเทียบกัน
และอภิปรายว่า ทำไมอุณหภูมิของดินน้ำมันสีขาวและสีดำ จึงแตกต่างกัน