เรื่องที่  8   เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการสลายสารอาหารแบบใช้ O2 และไม่ใช้ O2

 

จุดประสงค์การเรียนรู้

1.        เปรียบเทียบการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจนและการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ออกซิเจน

 

มีอะไรที่เหมือนกันบ้างและอะไรที่ต่างกันบ้างของการสลายสารอาหารแบบใช้และไม่ใช้ออกซิเจน

จะเห็นได้ว่าการสลายสารอาหารแบบใช้ออกซิเจนและไม่ใช้ออกซิเจน จะต้องผ่านขั้นตอนไกลโคลิซีสทั้งสิ้น

เปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการหายใจแบบใช้ O2 และไม่ใช้ O2

 

 

                                    ภาพที่  8.1  ภาพแสดงบริเวณที่เกิดการหายใจแบบใช้ O2 และการหายใจแบบไม่ใช้ O2

                                   ที่มา :  http://61.19.151.188/scimath/respiration/glycolysis_pic6.jpg

 

ตารางที่ 8.1  ตารางเปรียบเทียบข้อแตกต่างระหว่างการสลายสารอาหารแบบใช้ O2 และไม่ใช้ O2

 

การสลายสารอาหารแบบใช้ O2

การสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ O2

1.  สลายโมเลกุลอาหารได้สมบูรณ์  คาร์บอน

     อินทรีย์ถูกเปลี่ยนเป็นคาร์บอนอินทรีย์ได้

     ทั้งหมด

1.  สลายโมเลกุลอาหารได้ไม่สมบูรณ์  คาร์บอน

     อินทรีย์ยังคงปรากฏเหลืออยู่

2.  สารตัวสุดท้ายที่รับไฮโดรเจนจากกลูโคสคือ O2

2.  สารตัวสุดท้ายที่รับไฮโดรเจนจากกลูโคสคือ กรด

    ไพรูวิก

 

3.  ผลลัพธ์ตัวสุดท้ายได้  CO2 +  H2O และ

     พลังงาน

3.  ผลลัพธ์ตัวสุดท้ายในยีสต์  และพืช คือ

     เอทิลแอลกอฮอล์  และ  CO2 กับพลังงาน 

     สำหรับกล้ามเนื้อลาย  พยาธิตัวตืด  และ

     แบคทีเรียจะได้กรดแลกติกและพลังงาน

4.  พลังงาน  36  หรือ  38  ATP/ กลูโคส 1

     โมเลกุล

 

4.  พลังงาน  2  ATP/ กลูโคส  1  โมเลกุล

5.  เกิดทั้งใน  Cytoplasm  และ ไมโทคอนเดรีย

5.  เกิดใน  Cytoplasm  เท่านั้น

 

6.  เกิดน้ำ

6.  ไม่เกิดน้ำ

 

 

 

 

 

       ภาพที่ 8.2  เปรียบเทียบสารที่ได้รับจากการสลายสารอาหารแบบใช้ O2 และการสลายสารอาหารแบบไม่ใช้ O2

      ที่มา :  http://www.micro.siu.edu/micr201/chapter8N.html

 

 

                                             ภาพที่ 8.3   ภาพแสดง Respiration และ Fermentation

                                             ที่มา :  http://www. classes.midlandstech.edu/carterp/Courses/bio2

 

สรุปกระบวนการหายใจทั้งหมดของสิ่งมีชีวิต

1.        กระบวนการหายใจเป็นกระบวนการสร้างพลังงานของเซลล์  ซึ่งเกิดขึ้นกับสิ่งมีชีวิตทุกชนิด  โดยอาจเป็นการหายใจแบบใช้ออกซิเจน  หรือแบบไม่ใช้ออกซิเจน

2.        กระบวนการไกลโคลิซีสเกิดที่ไซโทพลาสซึม  การสร้างอะซิติลโคเอนไซม์  เอ 

       วัฏจักรเครบส์  และการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเกิดขึ้นที่ไมโทคอนเดรีย

3.        การหายใจทุกขั้นตอนต้องใช้เอนไซม์เฉพาะเป็นตัวคะตะลิสต์ของปฏิกิริยา

4.        พลังงานที่เกิดขึ้นในร่างกาย  นำไปสร้าง  ATP  ได้ประมาณ  55 %  ของพลังงานทั้งหมด  ส่วนที่เหลือกลายเป็นพลังงานรูปอื่น ๆ เช่นพลังงานความร้อนรักษาอุณหภูมิของร่างกาย

 

เพิ่มเติม

                -  สารเคมีพวกไซยาไนด์, CO , เห็ด(บางชนิด)  และโรคบาดทะยัก  มีผลต่อกระบวนการหายใจทำให้เซลล์ใช้แก๊สออกซิเจนไม่ได้  กระบวนการถ่ายทอดอิเล็กตรอนหยุด  สร้าง  ATP  ไม่ได้  การหายใจหยุดถึงแก่ความตายได้

                -  สาร  TTC (Triphenyl  tetrazolium  chloride) เป็นสารเคมีที่ใช้ทดสอบการหายใจของเนื้อเยื่อ  ถ้ายังมีชีวิตอยู่  สารนี้จะมีผลทำให้เนื้อเยื่อบริเวณนั้นมีสีแดงทับทิม  ถ้าเนื้อเยื่อตายแล้ว  สาร  TTC  จะไม่เปลี่ยนสี

                -  สารเคมีแต่ละชนิดสลายตัวให้พลังงานแตกต่างกัน

                                1  Glucose (6C)          ใช้แก๊สออกซิเจน                     38    ATP

                                1  Fatty  acid (6C)         ใช้แก๊สออกซิเจน                  44    ATP

                                1  Pyruvic  acid (3C)       ใช้แก๊สออกซิเจน                   15    ATP

                                1  Acetyl  Co.A (2C)       ใช้แก๊สออกซิเจน                   12    ATP

                -  หลังจากดื่มนมเหลือทิ้งไว้  2 -3 วัน  จะเปรี้ยว  เนื่องจากเกิด  Lactic  acid  โดยการกระทำของแบคทีเรีย

                   - กระบวนการหายใจ  ที่มี O2 เป็นตัวรับอิเล็กตรอน (ตัวสุดท้าย) เรียกว่า  การหายใจแบบใช้  O2 (Aerobic  respiration)

                -  กระบวนการหายใจ หรือการสลายสารอาหารที่ไม่ใช้  O2 เป็นตัวรับอิเล็กตรอน  เรียกว่า  การหายใจแบบไม่ใช้  O2 (Anaerobic  respiration)

                - กระบวนการหมัก (Fermentation)  นักชีววิทยาบางท่านไม่ถือว่าเป็นการหายใจ  เพราะไม่มีการถ่ายทอดอิเล็กตรอนเพื่อสังเคราะห์  ATP

-  กรดแลคติก ( Lactic  acid )ในเซลล์กล้ามเนื้อลายเกิดจาก Pyruvic acid + H2( กรดไพรูวิก  ทำหน้าที่รับ H2 ในเซลล์กล้ามเนื้อลายถ้ามีการหายใจแบบไม่ใช้ออกซิเจน)  มีผลทำให้กล้ามเนื้อ  เปรี้ยล้า ( Fatigue )

                -  เอธานอล ( Ethyl  alcohol ) ในเซลล์ยีสต์ เกิดจากสารแอซีตัลดีไอด์ (Acetaldehyde) 

ซึ่งเป็นสาร 2C เกิดจากกรดไพรูวิก (3C) เสียคาร์บอนไดออกไซด์ออกไป รวมตัวเป็น H2 เป็นเอธานอล

 

                                                       .................................................................................................