ซูเปอร์โนวา (Supernova) คือ การระเบิดของดาวฤกษ์ที่มีมวลสารมากกว่าดวงอาทิตย์ 8 เท่าขึ้นไป
การระเบิดจะรุนแรงมาก ความสว่างจะเพิ่มขึ้นอย่างเฉียบพลัน จนบางครั้งสามารถมองเห็นได้จากพื้นโลกแม้เป็นเวลา
กลางวัน มวลสารของดาวจะถูกสาดกระจายไปสู่ห้วงอวกาศด้วยความเร็วสูง ต่อมาไม่นานแสงสว่างก็จะลดลงและจาง
หายไปคงเหลือแต่ฝุ่นก๊าซหลงเหลือตกค้างไว้เรียกว่า “ซากซูเปอร์โนวา” (Supernova Remnants)
ขณะที่เกิดซูเปอร์โนวาซึ่งผิวและเนื้อสารของดาวถูกระเบิดกระจายไปในอวกาศนั้น แกนของดาวกลับยุบตัวลงอย่าง
รวดเร็ว ปริมาตรลดลงทำให้ความหนาแน่นเพิ่มขึ้นอย่างยิ่งยวด จนกระทั่งไม่มีที่ว่างเหลืออยู่ในอะตอม โปรตอน
(ประจุบวก) และอิเล็กตรอน (ประจุลบ) ถูกบีบให้รวมกันจนเป็นนิวตรอน (ไม่มีประจุ) แกนของดาวที่ยุบตัวนี้เรียกว่า
“ดาวนิวตรอน” (Neutron Star) ดาวนิวตรอนมีขนาดเล็กมาก มีเส้นผ่านศูนย์กลางเพียง 10 – 20 กิโลเมตรเท่านั้น
เนื้อสารของดาวเพียงหนึ่งช้อนชากลับมีมวลมากกว่า 5 ตัน เนื่องจากดาวนิวตรอนมีขนาดเล็กมากและเกิดจากการยุบตัว
อย่างฉับพลันของแกนเหล็กขนาดใหญ่ มันจึงหมุนรอบตัวเองอย่างเร็วมาก จึงเกิดสนามแม่เหล็กและปล่อยรังสีออกมาใน
รูปคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า เมื่อคลื่นกระทบกับโลก เราก็จะได้รับสัญญาณที่แผ่ออกมาจากดาวเป็นคาบเวลาที่แน่นอนเรียกว่า
“พัลซาร์” (Pulsar ย่อมาจาก Pulsating Star หมายถึงดาวที่แผ่รังสีออกมาเป็นช่วงๆ) |