กิจกรรมศึกษาฟอสซิล
จุดประสงค์ ฝึกทักษะการสังเกตลักษณะของฟอสซิลในธรรมชาติ และปลูกฝังความรู้เรื่องโลกในอดีต สาระสำคัญ ฟอสซิลเป็นหลักฐานธรณีวิทยา ฟอสซิลจึงเปรียบเสมือนตัวอักษรทางธรรมชาติ ซึ่งบันทึกเรื่องราวในยุคก่อนประวัติศาสตร์ การศึกษาฟอสซิลทำให้เราทราบถึงเรื่องราวของโลกในอดีต วิวัฒนาการของสิ่งมีชีวิต และค้นหาคำตอบว่า มนุษย์มาจากไหน และพยากรณ์ว่าอนาคตจะเป็นอย่างไร เราควรกระทำต่อธรรมชาติเช่นไร เวลาที่ใช้ 3 ชั่วโมง ระดับชั้นเรียน ทั่วไป แนวความคิดหลักที่สำคัญ ฟอสซิลทางทะเล เวลาทางธรณีวิทยา ทักษะ การสืบค้นท การจำแนกลักษณะของฟอสซิล การจำแนกเวลาทางธรณีวิทยา วัสดุและอุปกรณ์ แผนภาพฟอสซิลทางทะเล แว่นขยาย ไม้บรรทัด อุปกรณ์ในการจดบันทึก สถานที่ แหล่งฟอสซิลจะอยู่ตามภูเขาหินปูน สามารถหาดูได้จากแผนที่ธรณีวิทยา แหล่งฟอสซิลทางทะเลที่เข้าถึงได้ง่าย ได้แก่ เขาพุเลียบ อ.เมือง จ.กาญจนบุรี ใกล้กับ ม.ราชภัฏกาญจนบุรี หรือเหมืองหินปูน ต.พระลาน อ.พระพุทธบาท จ.สระบุรี วิธีปฏิบัติ 1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่ม ๆ ละ 2 3 คน 2. แจกแผนภาพฟอสซิลทางทะเล และแว่นขยาย ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม 3. ให้นักเรียนแต่ละกลุ่มแยกย้ายกันสังเกตการณ์ใน ทำการจดบันทึก วัดขนาด และวาดรูปฟอสซิลที่ตรวจพบ 4. เมื่อเสร็จกิจกรรม ให้นักเรียนรวมกลุ่ม อภิปราย แสดงความคิดเห็นถึงฟอสซิลแต่ละชนิดที่ได้ตรวจพบ ศึกษาเปรียบเทียบกับด้วยตารางเวลาทางธรณีวิทยาที่อยู่ด้านหลังแผนภาพว่า เป็นสิ่งมีชีวิตในยุคใด มีอายุกี่ร้อยล้านปีมาแล้ว