กิจกรรมการศึกษาลักษณะดิน

จุดประสงค์ เพื่อศึกษาลักษณะของดินชนิดต่างๆ ว่ามีความแตกต่างกันอย่างไร

สาระสำคัญ
          ดินเกิดจากการสะสมของตะกอนวัสดุซึ่งขนาดและชนิดต่างๆ กัน ฉะนั้นดินในแต่ละบริเวณจึงมีลักษณะไม่เหมือนกัน เช่น ดินบริเวณปากแม่น้ำอาจเป็นดินเหนียวซึ่งมีเนื้อละเอียด ส่วนดินในที่ราบสูงอาจเป็นดินทรายซึ่งมีเนื้อหยาบ

เวลาที่ใช้ 1 คาบเรียน

ระดับชั้นเรียน ประถมปลาย – มัธยมต้น

แนวความคิดหลักที่สำคัญ
       โครงสร้าง
       การยึดตัว
       เนื้อดิน
       สีของดิน
       คาร์บอเนต

ทักษะ
       การเก็บตัวอย่างท การอธิบายลักษณะดิน
       การทดสอบคาร์บอเนต
       การใช้หนังสือเทียบสีดิน
       การจำแนกดิน

วัสดุและอุปกรณ์
       แผนภาพดิน
       ตัวอย่างดิน (อย่างน้อย 3 ชนิด)
       จานกระดาษ สำหรับใส่ตัวอย่างดิน ตัวอย่างละ 1 ใบ พร้อมกระดาษหนังสือพิมพ์ สำหรับปูโต๊ะ กันเปื้อน
       ที่พรมน้ำ (แบบที่ใช้รีดผ้า)
       สมุดเทียบสีดิน (ถ้าไม่มีก็ไม่ต้องศึกษาเรื่องสีของดิน)
       ไม้บรรทัด
       กรดเกลือชนิดเจือจางมากๆ
       ใบงานกิจกรรมการศึกษาลักษณะของดิน

การเตรียมล่วงหน้า
           เตรียมตัวอย่างดินที่จะนำมาศึกษา จากแหล่งที่แตกต่างกันโดยชัดเจน เช่น ท้องนา ท้องไร่ ร่องสวน พยายามเก็บตัวอย่างดินมาทั้งก้อน โดยไม่รบกวนดินเช่น ใช้ใช้จอบหรือเสียมกระแทกดิน

ขั้นตอนการปฏิบัติ
          1. ใช้กระดาษหนังสือพิมพ์ปูทดลอง และแจกตัวอย่างดิน พร้อมอุปกรณ์ให้นักเรียน กลุ่มละ 1 ชุด
          2. ศึกษาโครงสร้างดิน โดยการเปรียบเทียบกับตัวอย่างและคำอธิบายในแผ่นภาพดิน
          3. ทดลองบีบเม็ดดินเพื่อศึกษาการยึดตัวของดิน
          4. พรมน้ำให้ดินชื้น และเปรียบเทียบกับสมุดเทียบสีดิน และอ่านค่า
          5. หลับตา และค่อยๆ ใช้นิ้วมือคลึงก้อนดินว่า สาก นุ่มลื่นมือ หรือเหนียวติดมือ
          6. ทดลองปั้นดินให้เป็นเส้นยาว ตามโฟลชาร์ต ในแผ่นภาพดิน เพื่อจำแนกชนิดของดิน
          7. ทดสอบคาร์บอเนตโดยการหยดกรดเกลือชนิดเจือจาง
          8. บันทึกค่าที่ได้ในข้อ 2 – 7 ลงในใบงานการศึกษาลักษณะของดิน
          9. คุณครูทำการสรุปกิจกรรม และเฉลยที่มาของตัวอย่างดินแต่ละชนิดว่า เก็บมาจากที่ไหน เหตุผลใดดินแต่ละชนิดจึงมีความแตกต่างกันเช่นน
ี้

ใบงานกิจกรรมศึกษาลักษณะของดิน

ตัวอย่างดิน
โครงสร้างดิน
(แบบ)
การยึดตัวของดิน
(ร่วน/แน่น)
สี
เนื้อดิน
(สัมผัส)
คาร์บอเนต
(ทำปฏิกิริยา)
ประเภทดิน
(สันนิษฐาน)
1 - - - - - -
2 - - - - - -
3 - - - - - -
4 - - - - - -
5 - - - - - -