กิจกรรมการเปลี่ยนแปลงปริมาตรและความดันอากาศ
ภาพที่
1 อุปกรณ์สาธิตการปลี่ยนแปลงปริมาตร และความดันอากาศ
ระดับชั้น: ประถมศึกษา
ระยะเวลา: 1 ชั่วโมง
หลักการ
วัตถุที่มีความหนาแน่นน้อยกว่าจะลอยอยู่บนวัตถุที่มีความหนาแน่นสูงกว่า
เมื่อเราใส่หลอดไฟที่มีฟองอากาศในขวดน้ำพลาสติกที่บรรจุน้ำอยู่เติม
ความหนาแน่นโดยรวมของหลอดแก้วและฟองอากาศ สามารถเปลี่ยนแปลงได้โดยการเปลี่ยนแปลงปริมาตรของฟองอากาศ
เมื่ออากาศมีความดันสูงขึ้น จะทำให้ปริมาณของฟองอากาศลดลง ความหนาแน่นรวมของฟองอากาศและหลอดไฟก็จะเพิ่มขึ้นทำให้หลอดแก้วจมลง
เมื่อเราลดแรงบีบลงความดันในขวดก็จะลดลง ปริมาณของฟองอากาศก็จะเพิ่มขึ้น
ทำให้ความหนาแน่นโดยรวมของหลอดไฟและฟองอากาศลดลง หลอดไฟก็จะลอยขึ้น
รายการอุปกรณ์
1.
ขวดน้ำพลาสติก ขนาด 1.25 หรือ 2.0 ลิตร พร้อมฝา 1 ขวด
2.
หลอดไฟขนาด 6 โวลต์ ชนิดเกลียว 1 หลอด
วิธีการประกอบ
1.
ล้างทำความสะอาดขวดพลาสติกให้สะอาด
2.
นำหลอดไฟมาตัดส่วนที่เป็นเกลียวออก ให้เหลือเพียงส่วนกระเปาะแก้ว
3.
ใช้คีมตัดปลายแหลมของหลอดแก้วด้านล่าง ให้มีขนาดรูพอสมควร สำหรับใส่น้ำ
4.
ฉีดน้ำเข้าไปในหลอดแก้ว โดยให้เหลือฟองอากาศอยู่เล็กน้อย พอที่จะทำให้หลอดแก้วลอย
น้ำได้
5.
กรอกน้ำลงในขวดน้ำอัดลมให้เต็ม
6.
นำกระเปาะแก้วที่มีน้ำใส่ในขวดน้ำอัดลมแล้วปิดฝาให้แน่น
วิธีการทดลอง
1.
ใช่มือบีบขวดพลาสติก สังเกตการเคลื่อนที่ของหลอดไฟ
2.
บีบขวดจนกระทั่งหลอดไฟจมลงก้นขวด สังเกตขนาดของฟองอากาศในหลอดไฟ
3.
ค่อยๆ ผ่อนแรงบีบลง สังเกตขนาดของฟองอากาศในหลอดไฟ และการเคลื่อนที่ของหลอดไฟ
4.
เปรียบเทียบขนาดของฟองอากาศในข้อ 2 และข้อ 3
5.
สรุปสาเหตุของการจมและลอยของหลอดแก้ว
© 2003 - 2010 The LESA Project
All rights reserved.
|