จุดประสงค์
ศึกษาการเปลี่ยนแปลงขนาดรูโอโซน
สาระสำคัญ
ก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
ทำหน้าที่ดูดกลืนรังสีอุลตราไวโอเล็ตซึ่งเป็นอันตรายต่อสิ่งมีชีวิต
ไม่ให้ตกกระทบถึงพื้นผิวโลก ในปี พ.ศ.2525 นักวิทยาศาสตร์ได้ตรวจพบรูโหว่ขนาดใหญ่ของชั้นโอโซน
เหนือทวีปแอนตาร์คติก ขั้วโลกใต้ ซึ่งเกิดจากกระแสลมพัดคลอรีนจากสาร
CFC เข้ามาสะสมในก้อนเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ ในช่วงฤดูหนาวเดือนพฤษภาคม
กันยายน (ขั้วโลกเหนือไม่มีเมฆในชั้นสตราโตสเฟียร์ เนื่องจากอุณหภูมิไม่ต่ำพอที่จะทำให้เกิดการควบแน่นของไอน้ำในอากาศ)
เมื่อถึงเดือนตุลาคมแสงอาทิตย์กระทบเข้ากับก้อนเมฆ ปลดปล่อยคลอรีนอะตอมอิสระให้ทำปฏิกิริยากับโอโซน
ทำให้เกิดรูโหว่
เวลาที่ใช้ 1/2 คาบเรียน
ระดับชั้นเรียน ประถมศึกษาตอนปลาย
แนวความคิดหลักที่สำคัญ
การทำลายโอโซนการเกิดรูโอโซน
ทักษะ
การสังเกต
การตีความภาพถ่ายดาวเทียมวัสดุและอุปกรณ์
ภาพถ่ายดาวเทียม รูโอโซน
วิธีปฏิบัติ
1.
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ 2 3 คน
2.
แจกภาพรูโอโซน ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม
3.
นักเรียนแต่ละกลุ่ม อภิปราย ถึงแนวโน้มการลดลงของโอโซน
4.
สุ่มตัวอย่างนักเรียน นำเสนอความคิดเห็นให้แก่เพื่อนในห้อง
5.
คุณครูอธิบายถึง ประโยชน์ของก๊าซโอโซนในบรรยากาศชั้นสตราโตสเฟียร์
และการทำลายโอโซนด้วยสาร CFC
ภาพถ่ายดาวเทียมแสดงช่องโอโซนเหนือทวีปแอนตาร์คติก บริเวณขั้วโลกใต้
ในเดือนตุลาคม ระหว่างปี พ.ศ.2522 - 2543
ที่มาของภาพ:
http://visibleearth.nasa.gov
หมายเหตุ: ความหนาแน่นของชั้นโอโซนมีหน่วยวัดเป็น
ด๊อบสัน (Dobson)