กิจกรรม แบบจำลองภาวะเรือนกระจก
ระดับชั้นเรียน: ประถมศึกษา
กำหนดเวลา: 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์: ให้นักเรียนเข้าใจถึงการเกิดภาวะเรือนกระจก
สื่อการเรียนรู้:
1.
โครงเหล็กดัดเป็นรูปบ้าน 1 อัน
2.
ขาตั้งเทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน
3.
ตะขอ 2 อัน
4.
แผ่นพลาสติกใสขนาด 1ผืน
5.
กระดาษกราฟ 1 แผ่น
6.
เทอร์มอมิเตอร์ 3 อัน
7.
ก้อนหิน 4 ก้อน
หลักการ:
เมื่อพลังงานแสงอาทิตย์ตกกระทบถึงผิวโลก
พื้นดินจะดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์เอาไว้ส่วนหนึ่ง ซึ่งส่วนใหญ่เป็นพลังงานของแสงในช่วงที่ตามองเห็น
หรือ แสงขาว พลังงานแสงอาทิตย์อีกส่วนหนึ่งจะถูกพื้นดิน สะท้อนกลับเข้าสู่บรรยากาศซึ่งเป็นรังสีคลื่นยาวในช่วงอินฟราเรด
หรือ รังสีความร้อน รังสีอินฟราเรด เหล่านี้ส่วนหนึ่งจะถูกดูดกลืนโดยไอน้ำ
ก๊าซคาร์บอนไดออกไซด์ รวมทั้งก๊าซอื่นๆ ในบรรยากาศชั้นล่างสุด ทำให้บรรยากาศชั้นล่างสุดอบอุ่นขึ้น
นอกจากนี้รังสีอินฟราเรดบางส่วนที่ถูกแผ่ออกมาจากพื้นผิวโลกสู่บรรยากาศ ยังถูกสะท้อนกลับมายังผิวโลกอีก
จึงทำให้พื้นผิวโลกอบอุ่นขึ้นอีก เราเรียกปรากฏการณ์นี้ว่า "ภาวะเรือนกระจก" (greenhouse effect)
การสร้างและประกอบ:
1.
หาจุดสำหรับแขวนเทอร์มอมิเตอร์โดยใช้ตะขอในบริเวณกึ่งกลางโครงเหล็กดัดรูปบ้าน
2.
นำเทอร์มอมิเตอร์มาแขวนไว้กับขาตั้ง
3.
นำโครงเหล็กรูปบ้านและขาตั้งที่แขวนเทอร์มอมิเตอร์ ไปวางบนสนามหญ้ากลางแดด
4.
นำแผ่นพลาสติกใสมาครอบโครงเหล็กดัดรูปบ้านโดยขึงให้ตึงและทับมุมด้วยก้อนหิน
5.
นำเทอร์มอมิเตอร์ที่เหลือมาวัดอุณหภูมิปกติ
ภาพที่ 1 แบบจำลองปรากฏการณ์เรือนกระจก
การดำเนินกิจกรรม:
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ
ละเท่าๆ กันตามความเหมาะสม แจกอุปกรณ์ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ช่วยกันประกอบเรือนกระจกจำลองตามวิธีการดังที่กล่าวมาแล้วข้างต้น
ก่อนที่จะทำการทดลอง ให้คุณครูอธิบาย หลักการทำงานของภาวะเรือนกระจก
ให้นักเรียนเข้าใจเสียก่อน
เมื่อนักเรียนมีความเข้าใจในหลักการของภาวะเรือนกระจก
จึงให้นักเรียนออกไปทำการทดลอง โดยให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม ช่วยกันอ่านค่าของเทอร์มอมิเตอร์บริเวณในเรือนกระจกจำลองและนอกเรือนกระจกทุกๆ
30 นาที ประมาณ 4-5 ครั้ง
ตารางบันทึกผลกิจกรรม
เวลา |
|
|
|
|
|
อุณหภูมินอกเรือนกระจก |
|
|
|
|
|
อุณหภูมิในเรือนกระจก |
|
|
|
|
|
สรุปการทำกิจกรรม:
หลังจากที่นักเรียนได้ทำการทดลองแบบจำลองภาวะเรือนกระจก
ให้นักเรียนนำค่าที่ได้มาเขียนกราฟ และนำข้อมูลของแต่ละกลุ่มมาเปรียบเทียบและอภิปรายว่า ทำไมอุณหภูมิภายในและภายนอกของเรือนกระจกจึงแตกต่างกัน
© 2003 - 2010 The LESA Project
All rights reserved.
|