กิจกรรม แบบจำลองภาวะเรือนกระจก

 

จุดประสงค์
           ให้นักเรียนเข้าใจ ภาวะเรือนกระจก

สาระสำคัญ
          เมื่อพื้นผิวโลกดูดกลืนพลังงานแสงอาทิตย์ จะแผ่รังสีอินฟราเรดกลับคืนสู่อวกาศ แต่เนื่องจากบรรยากาศมีก๊าซเรือนกระจกปะปนอยู่ เช่น ไอน้ำ คาร์บอนไดออกไซด์ มีเทน ก๊าซเหล่านี้มีคุณสมบัติในการดูดกลืนรังสีอินฟราเรด ทำให้อุณหภูมิเหนือพื้นผิวโลกอบอุ่น เราเรียกภาวะนี้ว่า “ภาวะเรือนกระจก” (Greenhouse Effect) ในการสร้างแบบจำลองภาวะเรือนกระจกครั้งนี้ เราจะใช้แผ่นพลาสติกทำหน้าที่เสมือนเป็นก๊าซเรือนกระจก ในการกักเก็บความร้อนจากพื้นดิน

เวลาที่ใช้ 2 คาบเรียน

ระดับชั้นเรียน ประถมศึกษา

แนวความคิดหลัก
          ที่สำคัญการเกิดภาวะเรือนกระจก

ทักษะการ
          ทดลอง การสร้างกราฟอุณหภูมิ

วัสดุและอุปกรณ์
          1. โครงเหล็กดัดเป็นรูปเต้นท์ 1 อัน
          2. ตะขอ 2 อัน
          3. แผ่นพลาสติกใสขนาด 1 ผืน
          4. เทอร์มอมิเตอร์ 2 อัน
          5. ขาตั้งเทอร์มอมิเตอร์ 1 อัน6. ก้อนหิน จำนวนอย่างน้อย 8 ก้อน
          7. ใบงานกิจกรรม 1 แผ่น
          8. กระดาษกราฟ 1 แผ่นสถานที่ สนามหญ้ากลางแจ้ง ไม่มีเงาบัง

วิธีปฏิบัติ
          1. แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ ละ 4 - 5 คน
          2. แจกวัสดุอุปกรณ์ในการสร้าง
          3. วางโครงเหล็ก โดยแขวนเทอร์มอมิเตอร์ไว้กับตะขอตรงกลาง
          4. นำแผ่นพลาสติกคลุมโครงเหล็กแล้วขึงให้ตึง โดยการนำก้อนหินทับรอบขอบพลาสติก อย่าให้มีช่องอากาศถ่ายเท
          5. แขวนเทอร์มอมิเตอร์ที่เหลือกอีกตัวหนึ่งบนขาตั้ง และวางไว้ข้างๆ กระโจมพลาสติก
          6. ทำการจดบันทึกอุณหภูมิของเทอร์มอมิเตอร์ทั้งสองทุกๆ 15 นาที เป็นเวลานานตราบเท่าที่มีเวลา
          7. นำข้อมูลที่ได้มาพล็อตกราฟ
          8. นักเรียนอภิปรายถึงเส้นกราฟที่ได้ คุณครูอธิบายถึงการเกิดภาวะเรือนกระจก