กิจกรรม สำรวจพื้นที่ป่าด้วยภาพถ่ายดาวเทียม
จุดประสงค์
ศึกษาพื้นที่ป่าของประเทศไทย
ด้วยการอ่านแผนที่ประกอบกับภาพถ่ายดาวเทียม
สาระสำคัญ
ป่าไม้มีคุณอนันต์ต่อสิ่งมีชีวิต
ป่าเป็นแหล่งกำเนิดออกซิเจน อาหาร และถิ่นที่อยู่อาศัยของสิ่งมีชีวิต
ปัจจุบันพื้นที่ป่าของประเทศไทยเหลือน้อยกว่า 14% ของพื้นที่ประเทศ
จึงมีความจำเป็นที่นักเรียนควรรู้จัก หวงแหน และปกป้องทรัพยากรที่มีค่านี้
การศึกษาพื้นที่ป่าด้วยภาพถ่ายดาวเทียม จะช่วยให้นักเรียนสามารถประเมินสถานภาพของพื้นที่ป่าเมืองไทยได้อย่างรวดเร็ว
เวลาที่ใช้ 1 คาบ
เรียนระดับชั้นเรียน ประถมปลาย - มัธยมต้น
แนวความคิดหลักที่สำคัญ
พื้นที่ป่าไม้
ภาพถ่ายสีเท็จ
(False color)
ทักษะ
การอ่านแผนที่
การตีความภาพถ่ายดาวเทียมวัสดุและอุปกรณ์
แผนที่ภาพถ่ายสีเท็จของประเทศไทย
(False color) จากดาวเทียมแลนแซท 5 ในเว็บไซต์ หรือแผ่นซีดี LESA
แผนที่แสดงตำแหน่งอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของประเทศไทย
เครื่องฉายแผ่นใส หรือเครื่องฉายภาพ LCD
ความรู้พื้นฐาน
1.
รังสีที่ตามองเห็น (Visible light) เช่น แสงแดด เป็นคลื่นแม่เหล็กไฟฟ้าชนิดหนึ่งที่สังเกตได้ด้วยตาเปล่า
ประกอบด้วย แสงสีต่างๆ ซึ่งมีความยาวคลื่นไม่เท่ากัน เช่น สีม่วงมีความยาวคลื่น
400 นาโนเมตร (1 นาโนเมตร = 1/ พันล้านเมตร) สีเขียวมีความยาวคลื่น
550 นาโนเมตร สีแดงมีความยาวคลื่น 700 นาโนเมตร ส่วนรังสีที่มีความยาวคลื่นมากกว่าสีแดงนั้นเรามองไม่เห็น
เป็นต้นว่า รังสีอินฟราเรดซึ่งมีความยาวคลื่นอยู่ในช่วง 700 นาโนเมตร
1 มิลลิเมตร
2.
วัตถุทุกชนิดมีความสามารถในการดูดกลืนและสะท้อนรังสีไม่เท่ากัน เป็นต้นว่า
คอนกรีตสะท้อนรังสีที่ตามองเห็นทั้งหมดเราจึงมองเห็นเป็นสีขาว ต้นไม้ดูดกลืนแสงสีน้ำเงินและสีแดงได้ดีเราจึงมองเห็นเป็นสีเขียว
3.
วัตถุทุกชนิดมีพลังงานในตัวเอง (อิเล็กตรอนโคจรรอบนิวเคลียส) จึงมีความสามารถในการแผ่คลื่นแม่เหล็กไฟฟ้า
วัตถุที่มีพลังงานสูงจะแผ่รังสีคลื่นสั้น เช่น ก๊าซร้อนให้แสงสีน้ำเงิน
ส่วนสิ่งมีชีวิตมีอุณหภูมิต่ำแผ่รังสีอนฟราเรด เช่น ต้นไม้
4.
ภาพสีจริง (True color) เกิดจากการผสมแม่สีทั้งสามได้แก่ สีแดง สีเขียว
และสีน้ำเงิน (RGB) เช่น สีม่วงเกิดจากสีแดงรวมกับสีน้ำเงิน สีขาวเกิดจากการรวมแม่สีทั้งสามเข้าด้วยกัน
5.
ภาพสีเท็จ (False color) ที่ใช้ในแบบฝึกหัดนี้ เกิดจากการใช้แม่สีแดงแทนรังสีอินฟราเรด
ส่วนแม่สีที่เหลือยังคงเป็นสีเขียว และสีน้ำเงิน ตามจริง ดังนั้นพื้นที่สีแดงในแผนที่จึงเป็นแหล่งพืชพรรณ
(คลอโรฟิลล์) ซึ่งแผ่รังสีอินฟราเรดออกมา
วิธีปฏิบัติ
1.
แจกแผนที่แสดงตำแหน่งอุทยานแห่งชาติ และเขตรักษาพันธุ์สัตว์ป่าของประเทศไทย
ให้กับนักเรียน
2.
ฉายแผนที่ดาวเทียมขึ้นจอทีละระวาง โดยเริ่มจากสถานที่ใกล้ตัวหรือดูง่ายก่อน
เช่น กทม.และปากแม่น้ำเจ้าพระยา หรือ เกาะภูเก็ต
3.
ตั้งคำถามนักเรียน เช่น ภาพนี้อยู่ในเขตจังหวัดอะไร มีพื้นที่ป่าอะไรบ้าง
4.
ให้นักเรียนสังเกตลักษณะของพื้นที่ป่าที่คงเหลือว่าเป็นอย่างไร เช่น
เป็นพื้นที่เขา ที่ราบ หรือลุ่มน้ำ พื้นที่ป่าไม้ของไทยเป็นอย่างไรเมื่อเทียบกับพื้นที่ป่าของประเทศเพื่อนบ้าน
หมายเหตุ: ควรทำกิจกรรม เที่ยวไทยไปกับภาพถ่ายดาวเทียม ก่อนทำกิจกรรมนี้
เพื่อฝึกความคุ้นเคยในการอ่านแผนที่ประเทศไทย และแผนที่ภาพถ่ายดาวเทียม
© 2003 - 2010 The LESA Project
All rights reserved.
|