แผนภาพแฮรท์สชปรุง – รัสเซลล์

          ในช่วงต้นทศวรรษ 1910 เอ็จนา แฮรท์สชปรุง (Ejnar Hertzsprung) นักดาราศาสตร์ชาวเดนมาร์ก และเฮนรี นอริส รัสเซลล์ (Henry Norris Russell) นักดาราศาสตร์ชาวอเมริกัน ได้คิดค้นแผนภาพแฮรท์สชปรุง – รัสเซลล์ (H-R Diagram) ซึ่งมีความสำคัญต่อการศึกษาวิวัฒนาการของดวงดาว เพราะเมื่อดาวเปลี่ยนแปลงคุณสมบัติทางกายภาพ เช่น ขนาด อุณหภูมิ กำลังส่องสว่าง และความยาวคลื่น ตำแหน่งของดาวที่พล็อตลงบนแผนภาพก็จะเปลี่ยนไป


ภาพที่ 1 H-R Diagram

          H-R Diagram ประกอบด้วย แกนนอนแสดง อุณหภูมิของผิวดาว หรือลำดับประเภทสเปกตรัม (O B A F G K M) และแกนตั้งแสดงกำลังส่องสว่างของดาว โดยมีหน่วยเป็นจำนวนเท่าของดวงอาทิตย์ และอาจแสดงแมกนิจูดสัมบูรณ์ นอกจากนั้นสเกลเฉียงยังแสดงรัศมีของดาวตั้งแต่ 0.001 เท่าของดวงอาทิตย์ ไปจนถึง 1,000 เท่าของมวลดวงอาทิตย์แผนภาพแสดงตำแหน่งของดาว โดยการลงจุดตามคุณสมบัติทางกายภาพของดาว ประชากรดาวส่วนใหญ่เรียงตัวจากมุมบนซ้ายมายังมุมล่างขวาของแผนภาพเรียกว่า “ลำดับหลัก” (Main sequence) ดาวที่อยู่ด้านบนขวาของลำดับหลักเป็น “ดาวยักษ์” (Giants) “และดาวยักษ์ใหญ่” (Supergiants) ดาวที่อยู่ด้านล่างของลำดับหลักเป็น “ดาวแคระ” (Dwarfs) ตัวอย่างเช่น

          ดาว Regulus (หัวใจสิงห์) เป็นดาวลำดับหลักสีขาว สเปกตรัม B อุณหภูมิผิวดาว 16,000 K กำลังส่องสว่าง 1.4 x 102 เท่าของดวงอาทิตย์ แมกนิจูดสัมบูรณ์ -0.6 รัศมี 1.5 เท่าของดวงอาทิตย์

          ดาว Procyon B เป็นดาวแคราะห์ขาว สเปคตรัม A อุณหภูมิผิวดาว 9,000 K กำลังส่องสว่าง
1 x 10-3 เท่าของดวงอาทิตย์ แมกนิจูดสัมบูรณ์ 13 รัศมี 0.01 เท่าของดวงอาทิตย์

          ดวงอาทิตย์ เป็นดาวสีเหลือง สเปกตรัม G อุณหภูมิผิวดาว 5,800 K กำลังส่องสว่าง 3.9 x 1033 เอิร์ก/วินาที แมกนิจูดสัมบูรณ์ 4.8 รัศมี 6.9 x 108 เมตร

          ดาว Betelgeuse เป็นดาวยักษ์ใหญ่สีแดง สเปคตรัม M อุณหภูมิผิวดาว 3,600 K กำลังส่องสว่าง 2 x 102 เท่าของดวงอาทิตย์ แมกนิจูดสัมบูรณ์ -5 รัศมี 400 เท่าของดวงอาทิตย์