การสร้างกล้องรูเข็มเพื่อวัดขนาดของดวงอาทิตย์
ระดับชั้นเรียน: มัธยมต้น
กำหนดเวลา: 2 ชั่วโมง
วัตถุประสงค์: ให้นักเรียนมีความเข้าใจเกี่ยวกับหลักการของกล้องรูเข็ม
และสามารถนำมาประยุกต์ใช้วัดขนาดของดวงอาทิตย์ได้
อุปกรณ์:
1.
กระดาษแข็งขนาด A4 หนาไม่น้อยกว่า 180 แกรม จำนวน 2 แผ่น พิมพ์แบบกล้องรูเข็ม
2. ใบงานกิจกรรมการวัดขนาดของดวงอาทิตย์
3.
มีดคัตเตอร์ หรือ กรรไกร
4.
ไม้บรรทัด
5.
ตะปูเข็ม
6.
กาว
7.
แผ่นรองตัด
8.
เครื่องคิดเลข
การสร้างกล้องรูเข็ม:
1.
ตัดกระดาษแบบกล้องรูเข็มตามรอยเส้นประทั้งสองแผ่น
2.
นำส่วนที่ได้จากแผ่นที่ 1 พับ และติดกาว ส่วนชิ้นที่เป็นฐานไว้ประกอบกับส่วนที่เป็นเสา
ในแผ่นที่ 2
3.
นำกระดาษที่ตัดได้จากแผ่นที่ 2 พับ และติดกาวตามที่กำหนด จะได้เสารูปสามเหลี่ยม
2 ท่อน
4.
นำเสาทั้งสองท่อนมาต่อกันโดยให้ส่วนที่มีสเกลมากอยู่ด้านบน สอดด้านที่ติดกันสองด้าน
เข้าด้านในอีกด้านที่ถูกตัดให้ทากาวแล้วติดด้านนอก
5.
นำฐานประกอบเข้ากับเสาด้านล่าง พร้อมกับติดส่วนวัดดวงอาทิตย์ไว้ด้านล่าง
6.
นำส่วนที่เจาะให้แสงผ่านติดเข้ากับส่วนเข็มขัด
7.
นำส่วนที่ประกอบได้ตามข้อ 6 ประกอบเข้ากับเสาโดยให้ช่องอ่านสเกลของเข็มขัดตรงกับ
ด้านสเกลของเสา
การดำเนินกิจกรรม:
แบ่งนักเรียนออกเป็นกลุ่มๆ
ละเท่าๆ กันตามความเหมาะสม คุณครูอธิบายถึงหลักการเบื้องต้นของกล้องรูเข็ม
และการประยุกต์นำหลักการนี้มาใช้ (อาจจะให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า
เราจะใช้หลักการนี้วัดขนาดของดวงอาทิตย์ได้อย่างไร) จากนั้นจึงแจกอุปกรณ์ให้นักเรียนประดิษฐ์กล้องรูเข็ม
สำหรับวัดขนาดดวงอาทิตย์พร้อมกับ ใบงานกิจกรรม ให้นักเรียนศึกษาใบงานกิจกรรม และทำการวัดขนาดของดวงอาทิตย์ทั้งหมด
3 ครั้ง แล้วนำมาหาค่าเฉลี่ยเพื่อให้ได้ค่าที่แม่นยำที่สุด
คลิกเพื่อดาวน์โหลด
สรุปการทำกิจกรรม:
หลังจากที่นักเรียนได้ขนาดดวงอาทิตย์แล้ว
ให้นักเรียนแต่ละกลุ่ม นำค่าที่ได้มาเทียบกับค่าที่เชื่อถือได้ ซึ่งได้จากการวัดอย่างละเอียดด้วยเครื่องมือที่ทันสมัย
โดยปัจจุบันนักดาราศาสตร์สามารถวัดขนาดของดวงอาทิตย์ ได้เท่ากับ
1,392,000 กิโลเมตร จากนั้นอาจให้นักเรียนช่วยกันคิดว่า ค่าผิดพลาดจากการวัดขนาดของดวงอาทิตย์ด้วยกล้องรูเข็ม
เกิดจากอะไรได้บ้าง และเพื่อทำให้ค่าผิดพลาดน้อยลง เราสามารถปรับปรุงกล้องรูเข็มได้อย่างไรบ้าง
© 2003 - 2010 The LESA Project
All rights reserved.
|