ภาพที่ 1 ดาวเนปจูน
ดาวเนปจูนถูกค้นพบ
หลังจากการค้นพบดาวยูเรนัส โดยนักดาราศาสตร์พบว่าวงโคจรของดาว
ยูเรนัสมิได้เป็นไปตามกฏของนิวตัน
จึงทำให้เกิดการพยากรณ์ว่า จะต้องมีดาวเคราะห์อีกดวงหนึ่งที่อยู่
ไกลถัดออกไป
มารบกวนวงโคจรของดาวยูเรนัส เนปจูนถูกเยี่ยมเยือนโดยยานอวกาศเพียงลำเดียวคือ วอยเอเจอร์ 2 เมื่อวันที่
25 สิงหาคม พ.ศ.2532, เกือบทุกอย่างที่เรารู้เกี่ยวกับดาวเนปจูน มาจากการ
เยี่ยมเยือนในครั้งนี้
เนื่องจากวงโคจรของ ดาวพลูโต เป็นวงรีมาก ในบางครั้งมันจะตัดกับวงโคจรของ
เนปจูน
ทำให้เนปจูนเป็นดาวเคราะห์ซึ่งอยู่ไกลที่สุดในบางปี ดาวเนปจูนมีองค์ประกอบคล้ายคลึงกับ
ดาวยูเรนัส เช่น รูปแบบของน้ำแข็ง
มีไฮโดรเจน 15% และฮีเลียมจำนวนเล็กน้อย ดาวเนปจูนแตกต่างกับดาวพฤหัสบดี
และดาวเสาร์ ตรงที่ไม่มีการแบ่งชั้นภายในที่ชัดเจน เรารู้เพียงว่ามีแกนกลางที่มีขนาดเล็ก
(มีมวลประมาณเท่าโลก) ดาวเนปจูนเป็นดาวเคราะห์สีน้ำเงินเช่นเดียวกับดาวยูเรนัส
เพราะในชั้นบรรยากาศมีก๊าซมีเทน เป็นองค์ประกอบอยู่ด้วย
ในช่วงเวลาที่ยานวอยเอเจอร์เข้าใกล้ดาวเนปจูน
ได้ภาพถ่ายที่มสิ่งสะดุดตาคือ จุดดำใหญ่ (Great dark spot) ทางซีกใต้ของดาว
มีขนาดใหญ่เกือบครึ่งหนึ่งของจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัสบดี (ประมาณเท่ากับเส้นผ่านศูนย์กลางของโลก)
จุดดำใหญ่นี้เป็นศูนย์กลางพายุเช่นเดียวกับจุดแดงใหญ่บนดาวพฤหัส มีทิศทางกระแสลมพัดไปทางตะวันตก
ด้วยความเร็ว 300 เมตร/วินาที
วงแหวน
ดาวเนปจูนมีวงแหวน 4 วง และมีความสว่างไม่มากนัก
เพราะประกอบด้วยอนุภาคที่เป็นผงฝุ่นขนาดเล็ก จนถึงขนาดประมาณ 10 เมตร
เช่นเดียวกับวงแหวนของดาวพฤหัสและดาวยูเรนัส ภาพถ่ายจากยานวอยเอเจอร์แสดงให้เห็นถึงวงแหวนหลัก
2 วง และวงแหวนบางๆ อยู่ระหว่างวงแหวนทั้งสอง
ดวงจันทร์บริวาร
ดาวเนปจูนมีดวงจันทร์บริวารที่ค้นพบแล้ว
8 ดวง โดยมีดวงจันทร์ชื่อ "ทายตัน" (Triton) เป็นบริวารที่มีขนาดใหญ่ที่สุด
ในบรรดาดวงจันทร์บริวารทั้ง 8 ดวง ทายตันมีวงโคจรที่สวนทางกับการหมุนรอบตัวเองของดาวเนปจูน
นักดาราศาสตร์คาดว่า ทายตันจะโคจรเข้าใกล้ดาวเนปจูนเรื่อยๆ และพุ่งเข้าชนดาวเนปจูนในที่สุด
(อาจใช้เวลาถึงเกือบ 100 ล้านปี)