นักดาราศาสตร์นำกล้องโทรทรรศน์
(Telescope) มาเป็นเครื่องมือในการศึกษาเทห์วัตถุท้องฟ้า เนื่องจากกล้องโทรทรรศน์
มีคุณสมบัติที่สำคัญ 2 ประการคือ หลักการเบื้องต้น อุปกรณ์ที่สำคัญของกล้องโทรทรรศน์คือ
"เลนส์นูน" มีหน้าที่รวมแสงให้มาตกที่จุด "จุดโฟกัส"
(focus) เราเรียก ระยะทางระหว่างจุดกึ่งกลางของเลนส์กับจุดโฟกัสว่า
"ความยาวโฟกัส"
การทำงานของกล้องโทรทรรศน์อาศัย หลักการหักเหของแสงผ่านเลนส์นูนจำนวน
2 ชุด โดย
กำลังรวมแสง คุณสมบัติที่สำคัญที่สุดของกล้องโทรทรรศน์คือ "กำลังรวมแสง"
(Light-gathering power) กล้องโทรทรรศน์ช่วยให้นักดาราศาสตร์มองเห็น เทห์วัตถุในห้วงอวกาศ
อาทิเช่น กาแล็กซี เนบิวลา และกระจุกดาวต่างๆ ซึ่งไม่สามารถมองเห็นได้ด้วยตาเปล่า
เนื่องจากระยะทางที่ไกลมาก ทำให้แสงของมันจางลง ยกตัวอย่าง:
เมื่อเปรียบเทียบเลนส์ของกล้องโทรทรรศน์ ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลาง
50 cm กับดวงตาของเรา (กระจกตาดำ) ซึ่งมีขนาดเส้นผ่านศูนย์กลางประมาณ
0.5 cm จะเห็นว่า เลนส์ของกล้องโทรทรรศน์ มีขนาดใหญ่กว่าถึง
100 เท่า และจะมีกำลังรวมแสงมากกว่าถึง 10,000 เท่า (100 ยกกำลังสอง) กำลังขยาย นอกจากคุณสมบัติในการรวมแสงแล้วนักดาราศาสตร์ยังต้องการ "กำลังขยาย"(Magnification) ยกตัวอย่าง:
ถ้าความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุ = 1000 mm ความยาวโฟกัสของเลนส์ตา
อัตราส่วนโฟกัส อัตราส่วนโฟกัส (Focal ratio) เป็นคุณสมบัติอีกข้อหนึ่งที่สำคัญของเลนส์กล้องโทรทรรศน์ เป็นค่าอัตราส่วน ระหว่างความยาวโฟกัสของเลนส์วัตถุ กับ เส้นผ่านศูนย์กลางของเลนส์วัตถุ เรามักเห็นค่านี้แสดงด้วย "f/" บนเลนส์กล้องถ่ายรูปทั่วไป ยกตัวอย่าง: หมายเหตุ: ห้ามใช้กล้องโทรทรรศน์ส่องมองดูดวงอาทิตย์ โดยปราศจากแผ่นกรองแสงอาทิตย์ที่มีคุณภาพ โดยเด็ดขาด
© 2003 - 2010 The LESA Project All rights reserved. |